การประยุกต์ใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพในการออกแบบเครื่องฉายรังสีอินฟราเรด

Titleการประยุกต์ใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพในการออกแบบเครื่องฉายรังสีอินฟราเรด
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsปริวรรต นาสวาสดิ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS ป462
Keywordsข้าวสาร--เครื่องมือและอุปกรณ์, รังสีอินฟราเรด--เครื่องมือและอุปกรณ์, เครื่องจักรกลการเกษตร--การออกแบบและการสร้าง, เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ
Abstract

งานวิจัยนำเสนอการพัฒนาต้นแบบเครื่องฉายรังสีอินฟราเรด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องฉายรังสีอินฟราเรดสำหรับกำจัดแมลงในข้าวสารหอมมะลิอินทรีย์เพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของลูกค้า ให้ได้เครื่องที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสมกับอัตราการผลิตของโรงสี ผู้วิจัยจึงเลือกใช้เทคนิคแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (Quality Function Deployment: QED) แบบ 4 เฟส การดำเนินการศึกษานี้ โดยได้แปลงความต้องการของลูกค้า เกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องฉายรังสีอินฟราเรด สำหรับกำจัดแมลงในข้าวสารเข้าสู่ช่วงต่าง ๆ ของ QFD ทั้ง 4 เฟส ได้แก่ (1) การวางแผนผลิตภัณฑ์ (Product Planning) (2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) (3) การวางแผนกระบวนการ (Process Planning) และ (4) การวางแผนควบคุมกระบวนการ (Production Operations Planning) โดยกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้ เป็นกลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จำนวน 25 คน ผลที่ได้จากการศึกษาความต้องการของลูกค้านั้น ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเครื่องต้นแบบขึ้นใหม่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างซึ่งมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยทั้งในด้านการใช้งาน และลดสารเจือปนในข้าว มีความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น ผลของการประเมินพบว่ามีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจเพิ่มขึ้น จาก 3.81 เป็น 4.43 คิดเป็นเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 16.27 หลังการพัฒนามีต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.83 กาออกแบบเครื่องฉายรังสีเครื่องต้นแบบถูกออกแบบให้ใช้ระบบสายพานลำเลียง หลอดอินฟราเรดกำลัง 1000 วัตต์ จำนวน 2 หลอด ทำการทดลองกำจัดด้วงงวงข้าวในข้าวสาร ด้วยการออกแบบการทดลองแบบ Box Behnken Design จำนวนการทดลอง 15 ครั้ง และทดลองซ้ำ 2 ครั้ง ปัจจัยที่ศึกษา 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิ ความหนาชั้นข้าวบนสายพาน และเวลาในการกำจัดด้วงงวงข้าว ระยะทาง 100 เซนติเมตร พบว่า ค่าที่เหมาะสมค่าอุณหภูมิฉายรังสี 75 องศาเซลเซียส ความหนาข้าวบนสายพาน 1.5 เซนติเมตร ความเร็วสายพาย 1 นาที 30 วินาที และกำหนดระยะทางของหลอดกับข้าวสาร 10 เซนติเมตร มีประสิทธิภาพการกำจัดด้วงงวงข้าวร้อยละ 100 หลังการฉายรังสีข้าวไม่มีการแตกหัก เนื่องจากความร้อนจากการฉาย โดยคุณภาพข้าวทางกายภาพหลังฉายรังสี พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ คุณภาพข้าวทางเคมี หลังฉายรังสี พบว่า ค่าโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เยื่อใย และเถ้าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ คุณภาพข้าวหุงต้มหลังฉายรังสี พบว่า มีปริมาณอมิโลสเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ความคงตัวของแป้งสุกระดับอ่อน ส่วนอัตราการยืดตัวข้าวสุก และกลิ่นหอมไม่เปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพของเครื่องฉายรังสีอินฟราเรดเพื่อกำจัดแมลงในข้าวสาร สามารถทำงานได้ 1 ชั่วโมง เท่ากับ 300 กิโลกรัม

Title Alternate An application of quality function deployment in the design of the infrared radiation machine
Fulltext: