Title | การพัฒนาเครื่องแกะและคัดแยกกระเทียมพร้อมอุปกรณ์ลำเลียง |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2555 |
Authors | รชต มณีโชติ |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิขาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TS ร122ก |
Keywords | กระเทียม--เครื่องมือและอุปกรณ์, คุณภาพของกลีบกระเทียม, เครื่องแกะกระเทียม, เครื่องแกะและคัดแยกกลีบกระเทียม |
Abstract | งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องแกะกลีบกระเทียมพร้อมอุปกรณ์ลำเลียง โดยเครื่องที่สร้างขึ้นมีขนาดกว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 50x170x130 เซนติเมตร มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ ชุดแกะกลีบกระเทียม ชุดพัดลมทำความสะอาด ชุดคัดแยกกลีบกระเทียม และชุดต้นกำลังใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1 แรงม้าเป็นต้นกำลัง หลังจากดำเนินการทดสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องแล้ว จึงได้เครื่องแกะกลีบกระเทียมพร้อมอุปกรณ์ลำเลียงต้นแบบ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนแรงงานคน ลดความเหนื่อยล้า และประหยัดเวลาในการแปรสภาพกระเทียม
วิธีการดำเนินการเริ่มจากการศึกษาจุดอ่อนของเครื่องแกะกลีบกระเทียมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของการแกะกลีบกระเทียม การออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบรวมของปัจจัยต่าง ๆ ผลการทดลองกระเทียมจำนวน 3 ชนิด คือ กระเทียมผือ กระเทียมแก้ว ซึ่งเป็นกระเทียมพื้นบ้านของบ้านแสนพันและกระเทียมจีนเป็นกระเทียมนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การทดลองใช้กระเทียมจำนวน 500 กรัม ต่อครั้ง มีระดับการทดลองจำนวน 54 ครั้ง ผลการวิเคราะห์ค่าความผิดพลาดของการแกะกลีบกระเทียมสมบูรณ์แต่ละชนิดที่ P-Value น้อยกว่า ? (0.05) และมีความเชื่อมั่นของข้อมูล คือ R-Sq เท่ากับ ร้อยละ 99.84, R-Sq (adj) เท่ากับ ร้อยละ 99.66 ซึ่งค่าที่ได้มากกว่า ร้อยละ 80 จึงมีความเชื่อถือ
การทดลองพบว่า ปัจจัยและระดับมีผลต่อประสิทธิภาพสูงสุดของการแกะกลีบกระเทียมโดยกระเทียมแก้วและกระเทียมผือใช้ระยะห่างลูกนวดในการแกะกระเทียมที่ระดับ 1 เซนติเมตร และใช้ความเร็วรอบที่ระดับ 300 รอบต่อนาที ส่วนกระเทียมจีน ใช้ระยะห่างลูกนวดในการแกะกระเทียมที่ระดับ 1.5 เซนติเมตร ใช้ความเร็วรอบที่ระดับ 300 รอบต่อนาที การใช้เครื่องแกะกระเทียมได้ผลผลิตประมาณ 168 กิโลกรัมต่อชั่วโมง (การทดลองใช้เครื่องแกะกระเทียมของเกษตรกรโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นด้านพบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับดี) การใช้เครื่องแกะและคัดแยกกระเทียมสามารถประหยัดต้นทุนได้ประมาณ 6,994.26 บาท/เดือน และสร้างรายได้ประมาณ 57,090.13 บาท ระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ 4.57 หรือประมาณ 4-5 เดือน
|
URL | http://medias.lib.ubu.ac.th/medias/pdf/fulltext1/ethesis/Rachata_Man/abstract.pdf |
Title Alternate | Development of the garlic breaking and grading machine with materail handling equipment |