Gender BIAS in the selected English as a foreign language (EFL) textbooks used at Ubon Ratchathani Rajabhat University

TitleGender BIAS in the selected English as a foreign language (EFL) textbooks used at Ubon Ratchathani Rajabhat University
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2012
AuthorsSuttida Jarupath Jinaporn
DegreeMaster of Arts--Major in Teaching English As A Foreign Language
InstitutionFaculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathanee University
CityUbon Ratchathani
Call NumberPE S967G
KeywordsEnglish language--Study and teaching--Adttitude, English language--Textbooks for foreign speakers
Abstract

The purpose of this study is to investigate gender bias in a language classroom with regard to the presentation and representation of gender through language and illustrations in English as a Foreign Language (EFL) textbooks used at Ubon Ratchathani Rajabhat University. Two EFL textbooks including a commercial textbook and a locally-produced textbook were purposefully selected. A focus of the analysis falls into the five major categories: (1) visibility, (2) firstness, (3) occupational roles, (4) masculine generic nouns, and (5) topic domination.
The overall findings revealed that males were most frequently depicted than females in both written and visual modes. Although there was an attempt to present both females and males equally and present females a little more than males in some cases, such evidence was limited. In addition, the obtained results showed a continued possibility for females to be seen with a submissive social status, prejudice, and gender stereotype when comparing to males, all of which could point to the fact that the chosen textbooks maybe prone to bias which presents male as norm elements. Gender bias, if projected repeatedly in textbooks, would negatively affect learners who were exposed to them since gender bias has truly affected learners? attitudes and the way they treat the opposite gender.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจอคติทางเพศในชั้นเรียนภาษา โดยศึกษาการนำเสนอและภาพตัวแทนของแต่ละเพศผ่านทางภาษาและภาพประกอบในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ใช้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี การศึกษาในครั้งนี้จึงได้คัดเลือกหนังสือภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 2 เล่ม มาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วยหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศที่ผลิตในเชิงพาณิชย์และหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศที่ผลิตขึ้นเองเพื่อใช้ภายในมหาวิทยาลัย โดยวิเคราะห์หาอคติทางเพศทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ 1)การปรากฏของแต่ละเพศ 2)การจัดลำดับความสำคัญ 3)บทบาทในอาชีพ 4) คำนามที่แสดงถึงความเป็นชาย และ 5) การครอบครองเนื้อเรื่อง
ผลงานของวิจัยทั้งหมดพบว่าเพศชายปรากฏในภาษาและภาพประกอบมากกว่าเพศหญิง แม้มีความพยายามในการนำเสนอเพศหญิงและเพศชายในปริมาณที่เท่ากัน และมีการนำเสนอเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หากแต่กรณีเหล่านี้พบในปริมาณน้อย นอกจากนั้น ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าเพศหญิงยังคงถูกมองว่ามีสถานภาพทางสังคมที่ต้องยอมจำนนต่อเพศชาย จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าหนังสือเรียนภาษาทั้งสองเล่มอาจมีแนวโน้มที่จะมีอคติทางเพศในการนำเสนอเพศชายเป็นบรรทัดฐาน โดยอคติทางเพศหากปรากฏชัดเจนในหนังสือเรียนอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลกระทบในแง่ลบต่อผู้เรียน เนื่องจากอคติทางเพศมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อทัศนคติของผู้เรียนและวิธีที่ผู้เรียนปฏิบัติต่อเพศตรงข้าม

Title Alternate อคติทางเพศในหนังสือเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ใช้มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
Fulltext: