แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการยางพาราของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Titleแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการยางพาราของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsวิชชุดา วงศ์พาณิชย์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB ว533
Keywordsกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง--การจัดการ, การบริหารจัดการ, ยางพารา--การจัดการ--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการบริหารจัดการยางพารา 2) สภาพปัญหาการบริหารจัดการยางพาราในปัจจุบัน 3) การประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการบริการจัดการยางพาราตามภารกิจ และ 4) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการยางพาราที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการของเกษตรกร ทั้งนี้ศึกษากองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบบูรณาการ
กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพและเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน One-Way ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมี 4 ด้าน ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2) การสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3) การพัฒนาระบบตลาดยางพารา และ 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร ส่วนสภาพปัญหาการบริหารจัดการ พบว่า บทบาทหน้าที่ที่มีความซ้ำซ้อนกัน ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนวงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ตลอดจนเกษตรกรไม่มีความรู้เรื่องการปลูกยางที่มีคุณภาพ รวมถึงการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตยางพารา และการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายยางให้กับพ่อค้า
ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อการบริหารจัดการตามภารกิจและคุณภาพการให้บริการโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการพัฒนา ควรสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราเบื้องต้นจากน้ำยางแผ่นดิบ และแผ่นรมควันให้ทั่วถึงทุกพื้นที่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เร่งรัดพัฒนาครูยางโดยพัฒนาสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถสูงมีลักษณะเป็นวิทยากรช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการจัดการยาง เกษตรกรรวมกลุ่มด้วยตนเองเพื่อจำหน่ายยางให้กับพ่อค้าโดยตรงโดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ช่วยดำเนินการติดต่อประสานงานกับพ่อค้าและเร่งรัดพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการจัดการสวนยาง นอกเหนือจากการปลูกยางและบำรุงรักษาสวนให้มีความรู้ด้านตลาดยางเพิ่มขึ้น

Title Alternate Approach of the rubber management model development of the rubber relpanting aid fund in area lower North Eastern Region
Fulltext: