Title | การผลิตเอทานอลจากวัสดุประเภทลิกโนเซลลูโลสที่เป็นผลพลอยได้จากการเพาะปลูกข้าวด้วยกระบวนการทางชีวภาพ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2550 |
Authors | จันทร์จิรา สลับเชื้อ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TP จ253ก |
Keywords | กระบวนการทางชีวภาพ, ข้าว--เทคโนโลยีชีวภาพ, รำ--การหมัก, ลิกโนเซลลูโลส, เอทานอล--การผลิต, แกลบ--การหมัก |
Abstract | งานวิจัยนี้ ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำวัสดุที่เป็นผลพลอยได้จากการเพาะปลูกข้าว ได้แก่ แกลบและรำ มาใช้เป็นวัสดุหมัก วัสดุเหล่านี้มีส่วนประกอบที่เป็นลิกโนเซลลูโลส สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งของน้ำตาลสำหรับนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้ โดยกระบวนการผลิตเอทานอลด้วย กระบวนการทางชีวภาพ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการปรับสภาพวัสดุหมักโดยใช้เชื้อเห็ดและเชื้อรา พบว่า เชื้อเห็ดบดหรือเห็ดลม Lentinus polychrous Lev. LP-PT-01 เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงในวัสดุหมักที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสสูงสุดในวันที่ 4 ของการเพาะเลี้ยงและสามารถเปลี่ยนวัสดุลิกโนเซลลูโลสของน้ำตาลรีดิวส์ได้ การทดลองขั้นที่ 2 ศึกษาสายพันธุ์ยีสต์ที่สามารถหมักเอทานอลได้ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส พบว่า เชื้อยีสต์ที่แยกได้จากน้ำผึ้ง (HN) และเชื้อยีสต์ Kluyveromyces marxianus (KM) สามารถผลิตเอทานอลได้ปริมาณสูงสุด มีค่าเท่ากับ 1.04%v/v และ 1.03%v/v ตามลำดับ การศึกษาการผลิตเอทานอลโดยกระบวนการหมักร่วมกับการย่อยสลายเมื่อปรับสภาพวัสดุหมักด้วยเชื้อ L. polychrous Lev. LP-PT-01 และใช้เชื้อ K. marxianus ควบคู่กับกระบวนการหมักเอทานอล พบว่าในการใช้แกลบและรำละเอียดในอัตราส่วน 70:30 โดยน้ำหมักเป็นวัสดุหมัก ความชื้นเท่ากับ 60% ระยะเวลาการหมัก 3 วัน สามารถผลิตเอทานอลได้สูงสุดเท่ากับ 0.10 กรัมเอทานอลต่อ 100 กรัมวัสดุหมัก |
Title Alternate | Ethanol production from lignocellulosic materials derived from rice by-product via biological processes |