การเปลี่ยนรูปไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ที่ได้จากปัจจัยผลิตหลักในการเลี้ยงปลาร่วมกับไก่ไข่แบบผสมผสาน: กรณีศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ

Titleการเปลี่ยนรูปไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ที่ได้จากปัจจัยผลิตหลักในการเลี้ยงปลาร่วมกับไก่ไข่แบบผสมผสาน: กรณีศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsเจนศักดิ์ รัตนลัมภ์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรผสมผสาน
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSH จ718ก
Keywordsการเลี้ยงปลานิลร่วมกับไก่ไข่, บ่อเลี้ยงปลา, ปลา--การเลี้ยง, ฟอสฟอรัส, เกษตรกรรมแบบผสมผสาน, ไก่ไข่--การเลี้ยง, ไนโตรเจน
Abstract

การประเมินการเปลี่ยนรูปไนโทรเจนและฟอสฟอรัส ที่ได้จากปัจจัยผลิตหลักในการเลี้ยงปลาร่วมกับไก่ไข่แบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การนำไนโทรเจนและฟอสฟอรัสที่ได้จากมูลไก่ไข่ และอาหารหกหล่นไปใช้ประโยชน์เป็นผลผลิตปลานิล 2)ความสัมพันธ์ระหว่างมูลไก่ไข่ที่มีต่อผลผลิตปลานิล และ 3)ผลด้านเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการเลี้ยงปลานิลร่วมกับไก่ไข่
ดำเนินการศึกษาร่วมกับเกษตรกรรายย่อย 3 ราย รายละ 1 บ่อ ในจังหวัดอุบลราชธานีและศึกษาในบ่อเลี้ยงปลาของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ 1 บ่อ รวมเป็นการเลี้ยงปลาร่วมกับไก่ไข่แบบผสมผสาน จำนวน 4 บ่อ และการทดลองการผลิตเชิงเดี่ยว คือ เลี้ยงปลานิลอย่างเดียว จำนวน 1 บ่อ อัตราการปล่อยปลาเลี้ยงจำนวน 3200 ตัวต่อไร่ และเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 100 ตัวต่อไร่ จำนวน 2 บ่อ และเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 200 ตัวต่อไร่ จำนวน 2 บ่อ เก็บข้อมูลน้ำหนักของปลาแรกปล่อย อาหารไก่ มูลไก่ที่ตกลงสู่บ่อปลา ผลผลิตปลา และไข่ไก่ วิเคราะห์หาปริมาณของธาตุอาหารหลักที่สำคัญ 2 ชนิด คือ ไนโทรเจนและฟอสฟอรัสในปลาแรกปล่อย มูลไก่ อาหารหกหล่นและในผลผลิตปลาเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2547 รวม 137 วัน
ผลการศึกษา พบว่า ธาตุไนโทรเจนและฟอสฟอรัสที่ได้จากมูลไก่ไข่และอาหารหกหล่นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นชีวมวลของผลผลิตปลานิล มีค่าระหว่าง 19.7-30.6 เปอร์เซ็นต์ของไนโทรเจนทั้งหมด และ 24.6-38.8 เปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสรวมตามลำดับ
ความสัมพันธ์ระหว่างมูลไก่ไข่ที่มีผลผลิตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบผสมผสานนั้น พบว่า มีค่าสหพันธ์กันในเชิงบวก (r=0.92) โดยปริมาณมูลไก่ไข่ที่ตกลงบ่อเลี้ยงปลา อยู่ระหว่าง 7.5-14.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน ได้ผลผลิตปลา 1.7-2.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน สูงกว่าบ่อผลิตปลานิลเชิงเดี่ยว มีผลผลิตเพียง 0.5 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัด
ต้นทุนดำเนินการของฟาร์มผสมผสานปลาและไก่ไข่ อยู่ระหว่าง 35,118.5-57.557.7 บาทต่อไร่ (เฉลี่ย 46,634.9 บาทต่อไร่) ส่วนต้นทุนของการผลิตปลานิลเชิงเดี่ยวคือ 4,937.3 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิของฟาร์มแบบผสมผสานนี้ มีค่าอยู่ระหว่าง 2,294.8-19.096.7 บาทต่อไร่ (เฉลี่ย 10,447.7 บาทต่อไร่) ส่วนผลตอบแทนสุทธิของการผลิตปลานิลเชิงเดี่ยวมีเพียง 312.7 บาทต่อไร่ อัตราส่วนผลตอบแทนเงินลงทุนของฟาร์มผสมผสานอยู่ระหว่าง 1.1-1.4 ตามลำดับ (เฉลี่ย 1.3) ในขณะที่การผลิตปลานิลเชิงเดี่ยวที่มีค่า 1.1
การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากมูลไก่ไข่ และอาหารหกหล่นได้อย่างคุ้มค่าและยังพิสูจน์ว่า การเลี้ยงปลาร่วมกับไก่ไข่แบบผสมผสานสามารถลดการสูญเสียธาตุไนโทรเจนและฟอสฟอรัส และลดมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่ธาตุทั้งสองนี้จะถูกปล่อยออกไปจากฟาร์มสู่สภาพแวดล้อม

Title Alternate Transformation of nitrogen and phosphorus in integrated fish/layer farming system : a case study in Ubon Rajathanee and Sisaket Provinces