บทบาททางการบริหารของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อรองรับการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข : ศึกษากรณีการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleบทบาททางการบริหารของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อรองรับการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข : ศึกษากรณีการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2550
Authorsญาณผกา ศรีสวัสดิ์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารการบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS ญ212บ
Keywordsการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข, คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--แง่อนามัย, องค์การบริหารส่วนตำบล
Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางการบริหาร 4 ด้าน คือ บทบาทการเป็นผู้อำนวยการ บทบาทการเป็นผู้ประสานงาน บทบาทการเป็นที่ปรึกษา บทบาทการเป็นผู้อำนวยความสะดวก และการดำเนินงานด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคของคณะกรรมการบริหาร อบต. ในจังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2549 กลุ่มตัวอย่างผู้ถูกคัดเลือกจากกรรมการบริหาร อบต. จำนวนทั้งสิ้น 560 คน จาก 140 อบต. ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ด้วย t-test ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
กรรมการบริหาร อบต. ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 71.4) อายุโดยเฉลี่ย 41.65 ปี (SD=0.73 ปี) สถานภาพคู่สมรส (ร้อยละ 71.4) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 43.0) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 26,500 บาท (SD=2.65 บาท) มีประสบการณ์ทางการบริหารมาก่อน (ร้อยละ 65.0) บทบาททางการบริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.65, SD=0.64) และการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคอยู่ในมาก (ค่าเฉลี่ย =3.76, SD=0.69) ผู้วิจัยพบว่าบทบาททางการบริหารมีความสัมพันธ์กับการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรค (r=0.647, p-value (p) = < .001) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาททางการบริหารได้แก่ อายุ (p=<0.001) สถานภาพสมรส (p=0.006) ระดับการศึกษา (p=<0.001) การเคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหาร (p-value = 0.003) การมีตำแหน่งทางการบริหาร (p =< 0.001) การเคยเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุข (p=<0.001) จากผลการศึกษาผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมการจัดเวทีสาธารณะเพื่อสนับสนุนการออกกำลังกาย (ค่าเฉลี่ย=3.47, SD=0.92) การจัดสถานที่ออกกำลังกายพอเพียงสำหรับประชาชนทั่วไป (ค่าเฉลี่ย=3.44, SD=1.06) การจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักและวัณโรค (ค่าเฉลี่ย=3.22, SD=1.20) การสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรค (ค่าเฉลี่ย=3.31, SD=1.14) และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเขตพื้นที่ (ค่าเฉลี่ย=3.41, SD=1.07) อีกทั้งควรมีการส่งเสริมพัฒนาบทบาททางการบริหารงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรค โดยการฝึกอบรม การสอนงาน หรือการนิเทศงาน (Job Instruction) การสอนแนะ (Coaching) การให้คำปรึกษาหารือ (Counselling) การมอบหมายหน้าที่ให้ทำเป็นครั้งคราว (Job Assignment) การให้รักษาการแทน (Acting) การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานเพื่อให้โอกาสศึกษางานที่แปลกใหม่ หรือการได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้และประสบการณ์จากหน่วยงานอื่น (Job Rotation) เพื่อพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

Title Alternate Administrative role of Sub-Distric Administration Organization Committee in support of decentralization of the public health sector : a case study of supporter on health care service in Sub-Distric Administration Organization Committee in Ubon Ratchathani