ระดับความสามารถตนเองของผู้ดูแลเด็กต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

Titleระดับความสามารถตนเองของผู้ดูแลเด็กต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsนัยนา แสนทวีสุข
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHQ น435
Keywordsการดูแลเด็ก, ความฉลาดทางอารมณ์, จิตวิทยาเด็ก, ผู้ดูแลเด็ก--อุบลราชธานี--อำเภอเขื่องใน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน
Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระดับความสามารถตนเองของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อ ความคาดหวัง ในความสามารถของตนเองต่อการจัดกิจกรรมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กและหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ความคาดหวังต่อการจัดกิจกรรมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรศึกษาและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี จำนวนทั้งสิ้น 65 แห่ง รวมทั้งสิ้น 154 คน จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 98.7 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 43.5 มีสถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 81.2 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 41.6 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 98.7 ส่วนใหญ่จะสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 79.2
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลเด็กมีระดับความเชื่อในความสามารถตนเองต่อการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อยู่ในระดับ ความเชื่อสูง ร้อยละ 95.5 มีความเชื่อปานกลาง ร้อยละ 4.5 มีความคาดหวังในผลลัพธ์ ระดับสูง ร้อยละ 93.5 ในระดับปานกลาง ร้อยละ 6.5 ระดับการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมทั้งกิจกรรมหลักและกิจกรรมประจำวัน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์สูง ร้อยละ 98.7 ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 1.3 คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ สถานภาพสมรส รายได้ ประสบการณ์การทำหน้าที่ดูแลเด็ก ไม่มีความสัมพันธ์กับภาพรวมการจัดกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมประจำวัน และกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมหลัก ส่วนคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในการบูรณาการในกิจกรรมประจำวัน (p-value=0.708) แต่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมหลัก (p-value=0.030) และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในศูนย์เด็กเล็กในกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมประจำวัน (p-value=0.032) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมหลัก (p-value=0.178) ความเชื่อในความสามารถตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมหลักและกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมประจำวัน (r=0.090, 0.093 และ p-value=0.268, 0.250 ตามลำดับ) ส่วนความคาดหวังในผลลัพธ์ไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมหลัก (r=0.085, p-value=0.295) แต่มีความสัมพันธ์ กับกิจกรรมที่บูรณาการในกิจกรรมประจำวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.181, p-value=0.025)
ข้อเสนอแนะในการวิจัย พบว่า ยังมีผู้ดูแลเด็กอยู่ส่วนหนึ่งที่ยังมีความเชื่อในความสามารถตนเอง ปานกลางและมีความคาดหวังในการจัดกิจกรรมปานกลาง ควรอบรมหรือเสริมสร้างให้กลุ่มผู้ดูแลเด็กกลุ่มนี้ได้มีความมั่นใจและมีความเชื่อในความสามารถตนเองในการที่จะปฏิบัติในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กให้ได้ในระดับที่สูง ในกลุ่มผู้ดูแลที่มีความเชื่อและความคาดหวังสูงอยู่แล้วก็ต้องส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น ๆ ไป เพื่อพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสม ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีในอนาคตต่อไป

Title Alternate Self-efficacy level of child intendents and emotional quotient promotion in child development center, Khaungnai district, Ubon Ratchathani province