Title | การออกแบบและพัฒนางานหัตถกรรมจากต้นคล้า |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2551 |
Authors | ราชนิรันดร์ ดวงชัย |
Degree | ศิลปประยุกต์ศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ |
Institution | คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TS ร418ก |
Keywords | การออกแบบผลิตภัณฑ์, คล้า, หัตถกรรม--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เครื่องจักสาน--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Abstract | คล้าเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชื้นตลอดปี มีลักษณะลำต้นกลม สีเขียวเข้ม มีดอกสีขาวขึ้นเป็นกอ สูง 1.5-3 เมตร เปลือกสามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องจักรสานได้ ในอดีตชาวบ้านนิยมนำคล้ามาผลิตเป็นกระติบข้าวเหนียวและเสื่อเพื่อใช้ในครัวเรือนปัจจุบันมีการรวมกลุ่มผลิตเพื่อการจำหน่าย จากการศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มผู้ผลิตภัณฑ์จากคล้าในภาคอีสาน พบว่าโดยรวมมีปัญหาด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมกับยุคสมัย ขาดการพัฒนาด้านวัสดุและกระบวนการผลิต
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของต้นคล้าเพื่อการประยุกต์ใช้ในงานหัตถกรรม 2)เพื่อศึกษาและพัฒนาด้านวัสดุของต้นคล้า ให้มีความเหมาะสมกับการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองทางความต้องการในวิถีสังคมใหม่ 3)ศึกษาแนวทางการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นคล้า สำหรับกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มอาชีพผู้ผลิตงานหัตถกรรมจากต้นคล้าในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดหนองบัวลำภูรวม 4 กลุ่มอาชีพ
จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า การนำกล้วยมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ มีข้อจำกัดด้านวัสดุ 3 ประการ คือ 1) ไม่ทนความชื้น 2)ไม่ทนต่ออุณหภูมิร้อนจัด 3)ใช้งานจักสานได้เฉพาะผิวเปลือกนอก ดังนั้นเพื่อให้มีการนำวัสดุมาใช้ประโยชน์ในงานหัตถกรรมให้มากที่สุดผู้วิจัยได้ศึกษาการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของลำต้นเพิ่มเติมเพื่อลดอัตราการทิ้งเศษวัสดุจำนวนมาก
จากการทดลองด้านวัสดุจากคล้าเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตงานหัตถกรรมจากต้นคล้า ผู้วิจัยได้ศึกษา โดยแยกต้นคล้าออกเป็น 3 ชั้นผิว คือ 1)ผิวเปลือก 2)เส้นใยระหว่างเปลือกกับแก่น 3)แก่นใน ผลการทดลอง พบว่า ส่วนต่าง ๆ ของต้นคล้าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้คือ ผิวเปลือกและเส้นใยระหว่างเปลือกกับแก่นใน โดยส่วนเส้นใยระหว่างเปลือกกับแก่นในสามารถนำมาฟั้นเป็นเชือกได้ ทั้งการฟั้นจากผิวเปลือกขณะเป็นเส้นตอกแห้ง ข้อจำกัดของคล้าในงานหัตถกรรมจักสาน สามารถถักทอ สามารถฟั้นเป็นเชือกได้ แต่ขาดความสวยงามด้านพื้นผิว
สำหรับการวินิจฉัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการสาน ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมกับวัสดุมากที่สุด พบว่าการสานด้วยคล้าสามารถขึ้นรูปทรงผลิตภัณฑ์ได้ 2 ลักษณะ คือ 1) การขึ้นรูปด้วยการสานและประยุกต์ร่วมกับวัสดุอื่นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงซึ่งเหมาะกับงานขนาดใหญ่และงานที่ต้องการความหลากหลายทางด้านรูปทรง 2) การขึ้นรูปทรงด้วยการสารจากคล้าเพียงอย่างเดียวซึ่งมีความเหมาะสมกับงานทมี่มีขนาดเล็กและงานแผ่นเรียบ โดยทั้ง 2 ลักษณะสามารถเป็นทางเลือกใหม่ให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นคล้าที่สอดคล้องต้องการทางการตลาดในการนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากคล้า
|
Title Alternate | A design and development of handicraft by Schomannianthus |