การคัดกรองและให้คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่โดยเภสัชกรในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

Titleการคัดกรองและให้คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่โดยเภสัชกรในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsวรรัตน์ สุรพัฒน์
Degreeเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA ว274
Keywordsการสูบบุหรี่--พฤติกรรม, การเลิกบุหรี่--อุบลราชธานี--การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล
Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการคัดกรองและให้คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ โดยเภสัชกรในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยการให้คำปรึกษาและใช้พฤติกรรมบำบัดแก่ผู้ป่วยโดยยึดหลักการที่เรียกว่า ?5A? กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สูบบุหรี่ในปัจจุบันจำนวน 35 ราย ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ในช่วงเดือนธันวาคม 2550 ถึงสิงหาคม 2551 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเป็นเพศชายทั้งหมด 35 ราย (ร้อยละ 100.0) สูบบุหรี่วันละ 8.4?5.5 มวน โดยสูบบุหรี่มานานเฉลี่ย 28.1?15.9 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 94.3 มีระดับการติดนิโคตินอยู่ในระดับที่ติดน้อย (คะแนน FTND 0-4) ช่วงเวลาที่สูบบุหรี่คือ หลังทานอาหารและงานเลี้ยงสังสรรค์คิดเป็นร้อยละ 40.0 ผู้ป่วยร้อยละ 80.0 เคยเลิกสูบบุหรี่มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เนื่องจากสาเหตุอาการป่วยร้อยละ 37.1 และเลิกบุหรี่โดยการหักดิบร้อยละ 71.4 สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง ได้แก่ เกิดอาการอยากสูบเองร้อยละ 37.1 รองลงมา ได้แก่ เห็นเพื่อนสูบร้อยละ 34.3
ผลการติดตามผู้ป่วยหลังจากให้คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ พบว่า ผู้ป่วยมีระดับพฤติกรรมความพร้อมในการเลิกบุหรี่ (Transtheoretical model of change) เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น 17 ราย (ร้อยละ 48.6) และหลังจากทำการติดตามผู้ป่วยจำนวน 4 ครั้ง (หลังให้คำแนะนำครั้งแรก 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 2-3 เดือน และภายใน 4 เดือน) พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยที่เลิกสูบบุหรี่ได้ 9 ราย, 9 ราย, 7 ราย และ 13 ราย ตามลำดับ (ร้อยละ 25.7, 25.7,20.0 และ 37.1) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการสูบบุหราก่อนและหลังการให้คำแนะนำในผู้ป่วยทั้งหมดและเฉพาะกลุ่มที่ยังสูบบุหรี่โดยติดตาม 4 ครั้ง พบว่า ปริมาณบุหรี่ที่สูบต่อวันหลังการให้คำแนะนำต่ำกว่าก่อนการให้คำแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 4 ครั้ง (p-value<0.05)
ในด้านความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่พบว่า หลังการให้คำแนะนำผู้ป่วยมีคะแนนความรู้ (7.4?1.1 และ 5.5? 2.0, p-value=0.000) และทัศนคติ (44.4?4.8 และ 41.3?4.9, p-value=0.001) เกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ดีกว่าก่อนการให้คำแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อประเมินความพึงพอใจต่อการให้คำแนะนำการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกร พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวม ความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (คิดเป็น 3.8?0.3, คะแนนเต็ม 5) ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเภสัชกรสามารถมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ป่วยในการเลิกบุหรี่ได้

Title Alternate Screening and counselling on smoking cessation by pharmacist at the outpatient service, Sappasittiprasong hospital