Title | แนวทางลดระดับน้ำหลากในลำน้ำบริเวณเหนือฝายลำเซบาย |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2550 |
Authors | ศุภกรณ์ สังข์สกุล |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิศวกรรมโยธา |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TC ศ675น |
Keywords | น้ำท่า--การวัด, น้ำท่า--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, น้ำฝน--การวัด, ลำเซบาย--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ |
Abstract | ลำเซบายบริเวณเหนือฝายลำเซบายถึงจุดบรรจบลำเซบายกับลำห้วยโพงเป็นทางน้ำที่ต้องรองรับปริมาณน้ำท่าจากพื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบายตอนบนซึ่งมีปริมาณมาก ปริมาณน้ำที่มีมากเกินกว่าความจุของลำน้ำ ทำให้ระดับน้ำในลำเซบายยกตัวสูงกว่าระดับพื้นที่เพาะปลูกด้านข้างพนังกั้นน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร ดังนั้น จึงได้พิจารณาทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางลดระดับน้ำในลำเซบาย โดยประยุกต์ใช้แบบจำลอง MIKE11 ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ แบบจำลองน้ำฝนน้ำท่า ใช้ประเมินปริมาณน้ำท่าสำหรับการไหลเข้าด้านข้างผ่านพนังกั้นน้ำที่อยู่ระหว่างจุดควบคุมทางด้านเหนือน้ำและด้านท้ายน้ำ และแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ ใช้สำหรับจำลองระดับน้ำท่วมในลำน้ำ ตั้งแต่ปลายคันกั้นน้ำของลำเซบายและลำห้วยโพงถึงลำเซบาย การสอบเทียบแบบจำลองน้ำฝนน้ำท่า ใช้ข้อมูลน้ำท่าที่สถานี M32 กับพื้นที่ลุ่มน้ำเหนือสถานี M32 และใช้การคำนวณด้วยวิธี SCS เปรียบเทียบผลเพื่อยืนยันความถูกต้องของแบบจำลอง NAM กับพื้นที่ลุ่มน้ำในขอบเขตพื้นที่ศึกษาที่ไม่มีสถานีวัดน้ำ การประเมินปริมาณน้ำท่าด้วยแบบจำลองน้ำฝนน้ำท่า ให้ผลที่ดี ค่าพารามิเตอร์ที่ได้เป็นค่าในเฉลี่ยรายปี ระหว่างปี พ.ศ.2546 ถึง พ.ศ.2549 การสอบเทียบแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ ด้วยการปรับค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระ (Manning?s n) ให้ค่าระดับน้ำสูงสุดจากแบบจำลองมีค่าใกล้เคียงกับค่าระดับน้ำสูงสุดที่ได้จากการตรวจวัดตามลำน้ำ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระในลำน้ำเท่ากับ 0.035 และพื้นที่ด้านข้างคันกั้นน้ำมีค่า 0.035 ถึง 0.070 ผลที่ได้จากการจำลองระดับน้ำในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้ผลที่ดี เมื่อทดสอบความถูกต้องของข้อมูลระดับน้ำสูงสุดจากแบบจำลองกับระดับน้ำสูงสุดที่ทำการตรวจวัด ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.99 ผลจากการจำลองพบว่า การเพิ่มความกว้างขวางของช่องเปิดที่ฝายลำเซบายเป็น 75 เมตร และการลดปริมาณน้ำท่าของพื้นที่ลุ่มน้ำลำเซบายตอนบนลง 5% จะช่วยให้ระดับน้ำในลำเซบายลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ส่วนการขยายช่องเปิดตามแนวพนังกั้นน้ำ การขุดลอกลำน้ำ การผันน้ำไม่ช่วยให้ระดับการไหลลดต่ำลงมากนัก |
Title Alternate | Decreasing of water level in the upper stream of Lum Sebai Weir |