อธิวัฒน์ จันทรวิจิตร (ช่างราหุล)

  • ศิลปินร่วมสมัยสาขาประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี
  • ช่างแกะสลักเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
  • กรรมการตัดสินเทียนพรรษาประเภทแกะสลักจังหวัดอุบลราชธานี
  • ช่างก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทย อุโบสถ วิหาร ศาลา เจดีย์ ซุ้มประตู ฯลฯ
  • ผู้ช่วยครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 5 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติการทำเทียนพรรษา

นายอธิวัฒน์ จันทรวิจิตร เป็นบุตรนายอุส่าห์ จันทรวิจิตร ครูภูมิปัญญาไทย ช่างผู้มีฝีมือด้านการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมไทย และยังเป็นผู้ริเริ่มการสร้างสรรค์เทียนพรรษาให้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบจากเทียนพรรษารูปแบบเดิมที่มีเพียงฐานรองรับต้นเทียนเป็นบัวคว่ำบัวหงาย หรือฐานเอวขันธ์ย่อมุม มาเป็นการปั้นหุ่นตัวพระ ตัวนาง ภาพสัตว์หิมพานต์ประกอบฐานเทียนบอกเล่าเรื่องราวทางศาสนาสอดแทรกให้มีความงดงามเป็นอัตลักษณ์อีสานแท้ ๆ มีคุณค่าทางสุนทรียภาพแต่ยังคงคุณค่าด้านความศรัทธาความเชื่อทางศาสนาไว้อย่างมั่นคง จนพัฒนาการรูปแบบมาถึงปัจจุบัน

นายอธิวัฒน์ จันทรวิจิตรได้รับการสั่งสอนฝึกฝนทักษะฝีมือความรักในงานด้านศิลปกรรมไทยจากบิดามาตั้งแต่วัยเด็กตามวิถีชีวิตช่างไทย อีสานคือ “ สืบฮอยตา วาฮอยปู่ เฮียนนำพ่อ ก่อนำครู” จนเมื่ออายุได้ 13 ปี นายอธิวัฒน์ จันทรวิจิตรก็สามารถเขียนลายไทยเบื้องต้นและแกะสลักแบบพิมพ์ลายไทยช่วยบิดาเพื่อนำไปประดับตกแต่งงานศิลปกรรมทั่วไป งานสถาปัตยกรรมไทย เช่น อุโบสถวิหาร เจดีย์ ซุ้มประตู และยังได้รับการฝึกฝนอบรมสั่งสอนจากบิดาให้มีทักษะประสบการณ์ในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมไทยจนสามารถสร้างสรรค์ผลงานมาจนถึงปัจจุบัน

งานด้านการแกะสลักเทียนพรรษานายอธิวัฒน์ จันทรวิจิตรได้ช่วยเหลือบิดาในการสร้างสรรค์ผลงานมาตั้งแต่วัยเยาว์ เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวของช่างศิลปะไทยจึงได้มีโอกาสฝึกฝนทดลองปฏิบัติจนเกิดทักษะความชำนาญและได้มีส่วนร่วมในการแกะสลักเทียนร่วมกับบิดามาตลอด เมื่อถึงเทศกาลแห่เทียนพรรษาเมื่อครั้งที่ยังทำเทียนร่วมกับบิดา นายอธิวัฒน์ จันทรวิจิตร ก็มักจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการออกแบบและแกะสลักลวดลายลำต้น ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของเทียนพรรษาซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการเขียนลายไทยเป็นอย่างดีเนื่องจากเทคนิคการเขียนลายไทยลงบนลำต้นของเทียนจะใช้เกรียงขนาดเล็กที่มีความแหลมคมขีดร่างลงผิวเทียน โดยไม่ใช้แบบร่างลงกระดาษก่อน เป็นการออกแบบโดยใช้ทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะตน ดังนั้นงานแกะสลักลำต้นเทียนพรรษาจึงเป็นแบบอย่างผลงานที่สะท้อนทักษะและแนวคิดด้านความงามได้ชัดเจนที่สุด อีกส่วนที่ส าคัญคือการดูแลตกแต่งแกะสลักใบหน้าภาพตัวพระตัวนางซึ่งถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญเพราะตัวภาพไทยจะเป็นตัวสื่อความหมายแสดงความเชื่อมโยงเรื่องราวที่ช่างแกะสลักเทียนต้องการโดยออกแบบและแกะสลักผสมผสานแนวความคิดระหว่างศิลปกรรมไทยกับศิลปกรรมสากลให้สามารถบรรจบพบกันได้อย่างลงตัว เช่นก ารประยุกต์ภาพการแกะสลักภาพตัวพระ ตัวนาง ให้มีสัดส่วนกายวิภาคแบบสากล มีความงดงามถูกต้องตามสัดส่วน แต่มีใบหน้ารูปทรงกิริยาท่าทางแบบศิลปะไทย คือ ท่าทางแบบนาฏลักษณ์ นายอธิวัฒน์ จันทรวิจิตรได้แกะสลักเทียนร่วมกับบิดาและได้รับเป็นหัวหน้างานแกะสลักเทียนพรรษาด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศหลายครั้ง และ ได้แกะสลักเทียนพรรษาให้กับวัดพระธาตุหนองบัวได้รับรางวัลชนะเลิศใน พ.ศ. 2539 เป็นปีสุดท้าย ปัจจุบันเป็นกรรมการตัดสินเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก จังหวัดอุบลราชธานี และเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องการแกะสลักเทียนพรรษา

แนวคิดเกี่ยวกับการแกะสลักเทียนพรรษา

ศิลปกรรมไทย คือ วัฒนธรรมทางจิตใจที่สะท้อนออกมาเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุมีคุณค่าของตนเองศิลปวัฒนธรรมคือกระจกเงาส่องสะท้อนเรื่องราวความเป็นไปแห่งชีวิตมนุษย์ หลักฐานทางศิลปวัตถุโบราณคดีทั้งหลายแสดงถึงก้าวย่างทางความคิดร่องรอยแห่งอารยะธรรมที่ถูกคิดค้นรังสรรค์ขึ้นแสดงวิถีชีวิต แนวคิดความเชื่อและอัตลักษณ์ของผู้คน ศิลปกรรมไทย ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเหตุผลทางศาสนา พุทธศิลป์ถูกสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่งดงามวิจิตรบรรจง จนพบว่าพุทธสถานที่ประชาชนเข้าไปเคารพสักการบูชานั้นดูยิ่งใหญ่ด้วยความเชื่อศรัทธาเคารพ เช่น อุโบสถ วิหาร ศาลา เจดีย์ หอระฆัง ซุ้มประตู หรือ สถาปัตยกรรมไทยอย่างอื่น นอกจากสถาปัตยกรรมไทยแล้วการสร้างสรรค์ศิลปกรรม ด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะมีความงดงามอ่อนช้อย ประณีต บรรจง เป็นความงามที่ถูกเรียกว่า “ศิลปะแบบอุดมคติ” (Idealistic) เทียนพรรษาของชาวจังหวัดอุบลราชธานีเป็นรากเหง้าทางความคิดที่สืบต่อเป็นประเพณีอันดีงาม สะท้อนความเชื่อและสร้างสรรค์ศิลปะที่มีพัฒนาการรูปแบบความงามเป็นเอกลักษณ์ตามความเชื่อท้องถิ่นที่เรียกว่า “คตินิยม”

ปัจจุบัน เทียนพรรษาของชาวจังหวัดอุบลราชธานีไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อจุดบูชาพระหรือประโยชน์ให้แสงสว่างอีกแล้ว เทียนพรรษาจึงเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือรูปแบบอย่างหนึ่งในการเชื่อมโยงสังคม วิถีชีวิตชุมชนเพื่อรักษาประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่อย่างมีอัตลักษณ์ของชาวจังหวัดอุบลราชธานีโดยมุ่งเน้นให้เกิดรูปแบบความงามใหม่มีความงดงามประณีตอย่างศิลปกรรมอีสานสะท้อนผ่านเทคนิค
วิธีการแกะสลักเฉพาะตัวของช่างแกะสลักเทียนมีความน่าตื่นตาด้วยเรื่องราวทางศาสนา สอดแทรกแนวคิดและมิติทางสังคมในแต่ละยุคสมัย ผ่านความละเอียดงดงามอย่างมีเอกลักษณ์ของศิลปะไทย การพัฒนารูปแบบทางศิลปะหรือคติ ความเชื่อทางความงามของเทียนพรรษาในปัจจุบันจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคุณค่าทางความงามที่เรียกว่า สุนทรียภาพ มิติทางวิถีชีวิตของสังคม ชุมชนและการสร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ด ารงอยู่อย่างมีคุณค่ามีความหมายสะท้อนรากเหง้าอันดีงามของสังคมไทย

ผลงานอธิวัฒน์ จันทรวิจิตร

ช่างอธิวัฒน์ จันทรวิจิตร

ใส่ความเห็น