การพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsเอกภพ กาญจนเสน
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS อ878ก
Keywordsการพัฒนาชุมชน--อุบลราชธานี, การพัฒนาท้องถิ่น, ธรรมรัฐ, หลักธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อุบลราชธานี)--การบริหาร--แง่ศีลธรรมจรรยา
Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับความเป็นธรรมาภิบาลในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเป็นธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตามความคิดเห็นของประชาชน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาพำนักอาศัยในชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนาตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่พำนักอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
1) ระดับความเป็นธรรมาภิบาล ในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีระดับมากที่สุด คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม
2) เปรียบเทียบระดับความเป็นธรรมาภิบาลที่มีเพศ อายุ และการศึกษาแตกต่างกันมีระดับความเป็นธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่ประชาชนที่มีอาชีพ รายได้ และระยะเวลาเข้ามาตั้งถิ่นฐานแตกต่างกัน มีระดับความเป็นธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาพรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
3) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่พบมากที่สุดคือ การปฏิบัติงานอ้างระเบียบมากทำให้เสียเวลา การกระจายตัวของงบประมาณ การประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการประชุมประจำเดือน บางโครงการที่ดำเนินการแล้วก็ไม่ได้ดำเนินการต่อ การรับเรื่องร้องเรียน ปฏิบัติได้ล่าช้า ไม่มีความคุ้มค่ากับงบประมาณดำเนินโครงการ การวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานไม่มีการสำรวจปัญหาที่ชัดเจน อำนาจการตัดสินใจต้องรอผู้มีอำนาจให้คำตอบ และการประชาคมขององค์การบริหารส่วนตำบลมีน้อย สำหรับแนวทางการพัฒนาคือ ควรกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ชัดเจนเพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ต้องมีการแจ้งผลการดำเนินงานแผนการปฏิบัติงานให้ทราบโดยทั่วกันและการประชาคมควรให้มีการจัดอย่างสม่ำเสมอ

Title Alternate Local development by good governance principles of sub-district administrative organizations in Muang District, Ubon Ratchathani Province