การวัดประสิทธิภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและการเลือกทำเลที่ตั้งจุดบริการรถฉุกเฉินพยาบาล: กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม

Titleการวัดประสิทธิภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและการเลือกทำเลที่ตั้งจุดบริการรถฉุกเฉินพยาบาล: กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsหล้าวงศ์, อามิณฑ์
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการตัดสินใจหลายเกณฑ์, การวัดประสิทธิภาพ, การเลือกทำเลที่ตั้ง, รถพยาบาลฉุกเฉิน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) และเพื่อเลือกทำเลที่ตั้งจุดจอดรถฉุกเฉินพยาบาลที่เหมาะสม (จำนวนจุดจอดที่น้อยที่สุดที่ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด) ที่สามารถรองรับการบริการทางแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุมสถานที่ตั้งจุดบริการรถฉุกเฉินพยาบาลที่เป็นไปได้ ของกรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามสำหรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการประเมินด้านการบริหารจัดการหน่วยงาน รพ.สต. ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด ในเขต 7 อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 แห่ง โดยเสนอวิธีการ BWM-TOPSIS linear programming model ร่วมกับกรอบแนวคิดการบริหารจัดการแบบ McKinsey 7S model จำนวน 7 ปัจจัย จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ และทำการคำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมของแต่ละเกณฑ์โดยใช้วิธี BWM และการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความใกล้ชิดสัมพัทธ์ของแต่ละโรงพยาบาลสุขภาพตำบลโดยใช้วิธี TOPSIS linear programming model ในการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน พบว่า ค่าน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์การประเมินเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้คือ ด้านระบบการปฏิบัติงาน (System) F3: หน่วยบริการ = 0.3886, ด้านบุคลากร (Staff) F5: บุคลากรในหน่วยงาน = 0.1614, ด้านทักษะ (Skill) F6: ตำแหน่งทางวิชาการหรือวิทยฐานะ = 0.1251, ด้านรูปแบบการบริหารงาน (Style) F4: ข้าราชการประจำ = 0.1164, ด้านโครงสร้าง (Structure) F2: ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ = 0.0944, ด้านกลยุทธ์ (Strategy) F1: ผู้ป่วยที่รับบริการทั้งหมดในปีงบประมาณ = 0.0715 และด้านค่านิยม (Shared Valued) F7: ประชากรในพื้นที่ = 0.0426 ตามลำดับ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด
เกณฑ์โดยใช้วิธี BWM และการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความใกล้ชิดสัมพัทธ์ของแต่ละโรงพยาบาลสุขภาพตำบลโดยใช้วิธี TOPSIS linear programming model ในการให้บริการทางการแพทย์แก่ชุมชน พบว่า ค่าน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์การประเมินเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้คือ ด้านระบบการปฏิบัติงาน (System) F3: หน่วยบริการ = 0.3886, ด้านบุคลากร (Staff) F5: บุคลากรในหน่วยงาน = 0.1614,ด้านทักษะ (Skill) F6: ตำแหน่งทางวิชาการหรือวิทยฐานะ = 0.1251, ด้านรูปแบบการบริหารงาน (Style) F4: ข้าราชการประจำ = 0.1164,ด้านโครงสร้าง (Structure) F2:ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ = 0.0944, ด้านกลยุทธ์ (Strategy) F1: ผู้ป่วยที่รับบริการทั้งหมด ในปีงบประมาณ = 0.0715 และด้านค่านิยม (Shared Valued) F7: ประชากรในพื้นที่ = 0.0426 ตามลำดับ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด

Title Alternate Performance assessment of Tambon health promoting hospital and ambulance service location selection: a case study in Mueang Mahasarakham district