วัดเมืองเดช พระสังกัจจายน์คู่เมืองเดชอุดม

วัดเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ภายในวัดมีพระสังกัจจายน์ซึ่งเป็นพระคู่วัดเมืองเดช ที่ลูกหลานชาวเมืองเดชอุดมศรัทธาเลื่อมใส เป็นวัดที่สืบสานประเพณีการแข่งเรือหรือส่วงเฮือ เป็นจุดเรียนรู้การทำเทียนพรรษาของอำเภอเดชอุดม มีวิหารสองชั้นผลงานฝีมือการสร้างและออกแบบโดยนายสุวัฒน์ สุทธิประภา ช่างทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีวัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์

ประวัติวัดเมืองเดช

วัดเมืองเดช ตามประวัติที่มีการบันทึกไว้ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติ มีที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 50 ไร่ 56 ตารางวา ใน น.ส.3 เลขที่ 32 อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดถนน ทิศใต้ติดลำห้วย และทิศตะวันตกจดทุ่งนา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถกว้าง 10 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตร ยาว 25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 วิหารกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2534 ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ประกอบด้วย พระประธาน จำนวน 10 องค์ พระพุทธรูป 9 องค์ และพระสังกัจจายน์ 2 องค์ เป็นพระคู่วัดเมืองเดช ที่ลูกหลานชาวเมืองเดชอุดมศรัทธาเลื่อมใส พระพุทธรูปนาคปรก 7 เศียร พระประจำวันเกิด รอยพระพุทธบาทจำลอง

วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์
พระสังกัจจายน์คู่วัดเมืองเดช
วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์
พระพุทธรูปนาคปรก 7 เศียร วัดเมืองเดช

วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์

วิหารสองชั้น สร้างขึ้นในปี 2525 สร้างและออกแบบโดยนายสุวัฒน์ สุทธิประภา ด้านบนประดับด้วยประติมากรรมนูนต่ำเรื่องพระเวสสันดรชาดก ด้านข้างวิหารจัดแสดงแม่พิมพ์สำหรับหล่อปูนส่วนประกอบต่าง ๆ ของวิหาร

วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์
วิหารสองชั้นของวัดเมืองเดช
วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์
ประติมากรรมนูนต่ำ เรื่องพระเวสสันดร วัดเมืองเดช
วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์
แท่นพิมพ์สำหรับหล่อส่วนประกอบต่าง ๆ ของวิหารสองชั้น

วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์

วัดเมืองเดช ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2523 เดิมมีชื่อว่า วัดประดิษฐ์ธรรมาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2524 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนามคือ พระครูพุทธิสารสุนทร (เคน นนฺทโก) พระอุดมธรรมาภรณ์

วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์
พระอุดมธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัด

ประเพณีการแข่งเรือหรือส่วงเฮือ วัดเมืองเดช

วัดเมืองเดช เป็นวัดที่สืบสานประเพณีการแข่งเรือหรือส่วงเฮือ โดยมีหลวงปู่เคน อดีตเจ้าอาวาสซึ่งได้มรณภาพไปแล้วเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรม ซึ่งจะนิยมแข่งเรือกันในช่วงออกพรรษา ปัจจุบันไม่มีฝีพายแล้ว แต่ยังคงเก็บรักษาเรือยาวไว้เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้

  • เรือเทพธิดาโดม เป็นไม้ตะเคียนทอง ยาว 9  วา 1 ศอก จากกุดนางคำเภา บ้านดงกระชู อำเภอน้ำยืน ดำเนินการขุดด้วยแรงศรัทธาชาวบ้าน ดำเนินการแต่งโดยนายคำหล้า จันทรวิจิตร ในราคา 250 บาท ใน พ.ศ. 2502 ดำเนินการแต่งโดยคณะนายตำรวจ ตชด. 225 ปี 2532 คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 5000 บาท
  • เรือเทพสุนทร เป็นไม้ตะเคียนทองยาว 11 วา 1 ศอก ได้มาจากเขาโงย อำเภอนาจะหลวย ดำเนินการขุดโดย นายจำเนียร ตั้งสุหน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในราคาว่าจ้างวาละ 5000 บาท คิดเป็นเงิน 55000 บาท ค่าอุปกรณ์ ค่าเคลื่อนย้าย ทั้งสิ้นเป็นเงิน 68,691 บาท
  • เรือเทพอุดม เป็นไม้ตะเคียนทองยาว 11  วา 1 ศอก ได้มาจากเขาโงย อำเภอนาจะหลวย ดำเนินการด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้าน โดย นายสิม จันทร์พวง ปี  2534 ดำเนินการแต่งเติมโดย คณะนายตำรวจ ตชด. รวมค่าชักลาก ค่าตกแต่งทั้งสิ้นเป็นเงิน 15,650 บาท
  • เรือดำรงราช เป็นไม้ตะเคียนทองยาว 14 วา 1 ศอก งมมือได้มาจากเขาคำเม็ก อำเภอนาจะหลวย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2534 ดำเนินการขุดโดย นายจำเนียร ตั้งสุหน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ในราคาว่าจ้างวาละ 5000 บาท รวมเป็นเงิน 70000 บาท รวมทั้งค่าชักลาก ค่าแต่ง ค่าแรงงานเป็นเงิน 90500 บาท

วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์ วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์ วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์ วัดเมืองเดช-พระสังกัจจายน์

ที่ตั้ง วัดเมืองเดช

บ้านเมืองใหม่ หมู่ที่ 17 ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดเมืองเดช

14.911525, 105.074608

บรรณานุกรม

นครินทร์ วรฉัตร. (2560). สัมภาษณ์ 25 พฤษภาคม 2560

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ผู้รวบรวม. (2551). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 13 กรกฎาคม  2560. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง