วัดภูพลานสูง พบรอยพระพุทธบาท (น้ำบุ้น)

วัดภูพลานสูง ตั้งอยู่บนภูจอง ในเขตอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ และค้นพบรอยพระพุทธบาท (น้ำบุ้น)

วัดภูพลานสูง-รอยพระพุทธบาท-พระบรมสารีริกธาตุ

ประวัติวัดภูพลานสูง อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

วัดภูพลานสูง เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สถานที่ตั้งวัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 อยู่บนยอดเขาพลานสูงเทือกเขาภูจอง ห่างจากอำเภอนาจะหลวยไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ในความอุปถัมภ์ของชาวบ้านหลักเมือง มีพระอาจารย์ภรังสี ฉนทโร เป็นเจ้าอาวาส

เนื่องจากสถานที่ตั้งของวัดเป็นที่สัปปายะ เป็นป่าเขาลำเนาไพรสงบวิเวก พระผู้ที่เริ่มสร้างวัด คือ พระครูวิบูลธรรมธาดา (กาว ธมฺมทินฺโน) ท่านได้บุกเบิกและสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ที่จำเป็นในปี พ.ศ.2518 แม้จะอยู่ในช่วงที่ลำบาก แต่ด้วยความที่ท่านทราบคำทำนายจากคัมภีร์โบราณที่พระครูวิโรฒรัตโน ค้นพบว่าในภายภาคหน้าวัดภูพลานสูงจะมีความสำคัญเป็นวัดที่จะมีพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา จึงพยายามสร้างวัดนี้ขึ้นมา หลังจากนั้นบางปีก็มีพระมาจำพรรษา บางปีก็ไม่มี

จนกระทั่งปี พ.ศ.2542 ชาวบ้านหลักเมืองจึงได้พร้อมใจกันกราบอาราธนาให้หลวงพ่อภรังสี ซึ่งประจำอยู่ที่วัดป่าบ้านคำบอนขึ้นมาดูแลวัดภูพลานสูงเพื่อนำพาสาธุชนบูรณปฏิสังขรณ์วัดสืบต่อไป หลวงพ่อท่านจึงส่งพระลูกศิษย์มา แต่ด้วยความยากลำบากทำให้พระสงฆ์สามเณรอยู่จำพรรษาไม่ได้

ในปี พ.ศ. 2543-2545 หลวงพ่อภรังสีได้ขึ้นมาดูแลและทำการพัฒนาปรับปรุงวัด โดยมานำร่องอยู่ 2 ปี ท่านได้บุกเบิกทำถนนขึ้นสู่วัด จัดระเบียบต่าง ๆ ของวัดให้เป็นรูปเป็นรอย ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ วัด และมอบหมายให้พระลูกศิษย์ดูแลแทน ส่วนหลวงพ่อได้กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านคำบอนผลปรากฏว่าพระลูกศิษย์ไม่สามารถอยู่จำพรรษาได้ จึงทำให้หลวงพ่อขบคิดว่าทำไมวัดภูพลานสูงพระเณรอยู่ไม่ได้ท่านจึงขึ้นมาดูแลด้วยตัวท่านเองในปี พ.ศ. 2547 ก่อนเข้าพรรษาท่านได้สร้างกุฏิขึ้นมาหลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่พำนักจำพรรษา จากนั้นหลวงพ่อภรังสีก็ได้เริ่มบูรณะซ่อมแซมสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้นและนำพาญาติโยมประพฤติปฏิบัติธรรมเรื่อยมา พร้อมกับได้ค้นคว้าหาสาเหตุที่พระเณรมาอยู่ที่นี่ไม่ได้เป็นเพราะเหตุใด จนได้ทราบสาเหตุ ต่อมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเกี่ยวเนื่องด้วยองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ เสด็จมาสู่วัดภูพลานสูงตามคำทำนายของคัมภีร์โบราณหลวงพ่อได้บอกศิษยานุศิษย์มาร่วมรับเสด็จพระบรมสารีริกธาตุอย่างสมพระเกียรติ ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวต่างพากันมากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุกันอย่างมากมาย

นอกจากนั้นแล้วยังพบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา รอยพระพุทธหัตถ์  มีเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ ศาลาวิบูลธรรมธาดานุสรณ์ มหามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท และหน้าผาประวัติศาสตร์จารึกเรื่องราวต่าง ๆ ในพระคัมภีร์โบราณ วัดภูพลานสูง-รอยพระพุทธบาท-พระบรมสารีริกธาตุ วัดภูพลานสูง-รอยพระพุทธบาท-พระบรมสารีริกธาตุ วัดภูพลานสูง-รอยพระพุทธบาท-พระบรมสารีริกธาตุ

ประวัติรอยพระพุทธบาท (น้ำบุ้น) วัดภูพลานสูง

ในสมัยครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จมาที่ภูพลานสูง เมื่อทรงมีพระชนมายุ 50 พรรษา โดยมีพระมหากัสสปะ พระโมคคัลลานะ พระสิวลี พระอานนท์ ตามเสด็จพระพุทธองค์ทรงเสด็จแสดงธรรมโปรดพระเทวจักร กิจจิโก ให้บรรลุพระอรหันต์ที่ถ้ำพระสาวก แล้วเสด็จประทับรอยพระบาทไว้ตรงนี้ พระสิวลีได้นำดินมาจากอินเดีย และแร่สามชนิดมาผสมกันเพื่อรองรับรอยพระพุทธบาท

การค้นพบรอยพระพุทธบาท (น้ำบุ้น) วัดภูพลานสูง

จากการได้ศึกษาพระคัมภีร์โบราณทำให้ทราบตำแหน่งรอยพระพุทธบาทในคืนวันที่ 28 กันยายน 2549 (ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ) หลวงพ่อภรังสี ฉนฺทโร พร้อมพระลูกศิษย์ 4  รูป ฆารวาส 3 คน ขึ้นไปค้นหาที่ข้างบ่อน้ำบุ้น หลวงพ่อสวดมนต์เจริญภาวนา มีดาวตกลงมาที่พื้นดิน พระลูกศิษย์จึงพากันไปสำรวจดึงรากไม้ออกมา จึงได้พบรอยพระพุทธบาทมีลักษณะคล้ายดอกบัวสีขาวนิ่ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแข็งตัวขึ้นตามลำดับ หลวงพ่อได้ประกอบพิธีไหว้พระสวดมนต์ถวายในเบื้องต้น รุ่งเช้าญาติโยมจึงขึ้นมาช่วยกันทำความสะอาดรอบ ๆ บริเวณและได้ก่ออิฐฉาบปูนรอบรอยพระพุทธบาทเพื่อป้องกันการเสียหาย ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (แรม 1 เดือน 11 ปีจอ) ท่ามกลางพุทธบริษัทที่มาร่วมงานกว่า 500 คน อยู่ห่างจากวัดภูพลานสูงไปทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร

วัดภูพลานสูง-รอยพระพุทธบาท-พระบรมสารีริกธาตุ วัดภูพลานสูง-รอยพระพุทธบาท-พระบรมสารีริกธาตุ

พระโตโคตรมะ วัดภูพลานสูง

พระอาจารย์ภรังสี ฉนทโร ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เพื่อสร้างพระโตโคตรมะในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2548 และดำเนินการสร้าง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ครอบบริเวณที่พระโตโคตรมะจมอยู่ มีขนาดหน้าตักกว้าง 7.69 เมตร สูง 9.29 เมตร เพื่อเป็นตัวแทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การก่อสร้างโดยการนำของพระอาจารย์คูณ ร่วมกับพระลูกศิษย์ และผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสมาร่วมกันสร้างโดยไม่คิดค่าแรง ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550

วัดภูพลานสูง-รอยพระพุทธบาท-พระบรมสารีริกธาตุ

ที่ตั้ง วัดภูพลานสูง

บ้านหลักเมือง ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดภูพลานสูง

14.506738, 105.272149

บรรณานุกรม

นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย. (2560). ประวัติวัดภูพลานสูง, 14 กันยายน 2560. https://youtu.be/q2os5X5KHaU 

วัดภูพลานสูง. (2560). ประวัติวัดภูพลานสูง, 14 กันยายน 2560. http://suriyathatcivilize.org/

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง