อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย หนึ่งในอุทยานแห่งชาติของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือ น้ำตกห้วยหลวง (น้ำตกบักเตว) แก่งกะเลา ภูหินด่าง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบุณฑริกและอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน

ภูจองนายอย ภูแห่งต้นสำรอง

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ตั้งอยู่ในท้องที่ของอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ประกอบด้วย ภูเขาเล็กภูเขาน้อยมากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจองจันทร์แดง ภูพลานสูง ภูพลานยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์สภาพธรรมชาติที่สวยงามและมีสัตว์ป่าชุกชุม มีเนื้อที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร

ที่มาของชื่อภูจองนายอยนั้นมาจาก บริเวณโดยรอบของภูนั้นมีต้นจองหรือต้นสำรองขึ้นอยู่หนาแน่น ภูจอง ก็หมายถึง ภูที่มีต้นสำรองมากนั่นเอง ต้นจองจะนับอายุกันที่ใบ คือ เมื่อต้นจองอายุได้ 1-2 ปี ใบจะเป็นรูปใบโพธิ์ พอโตขึ้น 2-4 ปี จะมีใบ 3 แฉก คล้ายเมเปิ้ล แต่ถ้า 4-6 ปี มีใบ 5 แฉก โตขึ้นกว่านี้ใบก็จะกลับมาเป็นรูปใบโพธิ์เหมือนเดิม ต้นที่มีอายุ 40-50 ปี จึงจะมีลูกให้เก็บกินได้สักครั้ง ชาวอีสานจะเรียกลูกจอง ว่า หมากจอง ในภาษากลาง ทางใต้ เรียกว่า พุงทะลาย เป็นประเภทพืชสมุนไพร หรืออาหารเสริม

คำว่า นายอย น่าจะกร่อนมาจากคำว่า น้ำย้อย เพราะในป่าเบญจพรรณแถบเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งนี้ มีแหล่งน้ำลำธารที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ แถมภูผาในป่ายังมีน้ำซึมซับหยดย้อยออกมาเป็นลำธารอีกมากมาย

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน

ลักษณะภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ ซึ่งสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ดินเป็นดินลูกรังปะปนหินปูน ตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และประกอบด้วยลานหินลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนหน้าผา เช่น ผาผึ้ง

ลักษณะภูมิอากาศ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

อากาศโดยทั่วไปในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยนั้นจะเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อากาศที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอยจะเย็นมาก

พรรณไม้ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

พรรณไม้บนอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ประกอบด้วย พรรณไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งขึ้นอยู่เป็นส่วน ๆ มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณ 75% โดยเฉลี่ย ประกอบด้วยไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่น ได้แก่ จำปาป่า และพรรณไม้ดอกต่าง ๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้นจำพวกตะเคียนทอง ประดู่ ยาง กระบาก ปู่จ้าว พยุง มะค่า แกแล เป็นต้น ขึ้นแยกอยู่ตามสภาพป่า เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ทั้งกล้วยไม้ สัตว์ป่า แมลง ปลา เห็ด ผัก และสมุนไพร

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน

ภูหินด่าง หินผาสีชมพู 

ภูหินด่าง เป็นภูเขาหินทรายที่ประกอบไปด้วยป่าลานหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามแปลกตาแตกต่างจากที่อื่น ได้แก่ ลานหินงอก ลานหินเป็นระแหง แอ่งหินเว้า และร่องหินแยก ตามเส้นทางเดินป่าไปสู่ยอดภูเต็มไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่านานาชนิดและดอกไม้หลากสีที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน แตกต่างกันตามฤดูกาลจากจุดชมวิวบริเวณหน้าผา สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า รวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขนประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแถบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่งซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ภูหินด่าง” ที่แห่งนี้เหมาะสำหรับการกางเต้นท์พักแรม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยประมาณ 51 กิโลเมตร รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปต้องเดินเท้าเข้าไปและต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน  อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน

ทุ่งดอกไม้ พลาญป่าชาด

พลาญป่าชาด อยู่ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีลักษณะเป็นลานหินสลับด้วยทุ่งดอกไม้นานาชนิดที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เช่น มณีเทวา ดุสิตา สรัสจันทร์ เป็นต้น บางส่วนเป็นผืนป่าเต็งรังขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยต้นยางเหียงหรือต้นชาด และเป็นที่มาของชื่อ พลาญป่าชาด โดยช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวผลิดอกเบ่งบานเต็มท้องทุ่ง บริเวณกลางป่าจะมีลำธารซึ่งสร้างความชุ่มชื่นและเป็นจุดกำเนิดของน้ำตก พลาญป่าชาด เป็นเส้นทางเดินป่าที่เต็มไปด้วยพันธุ์ดอกไม้และพืชพันธุ์หลากหลายชนิด

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน

ลานพักพิง พลาญกงเกวียน

พลาญกงเกวียน เป็นลานหินกว้าง ที่ด้านหน้ามีกลุ่มหินลักษณะเป็นเพิงธรรมชาติ มีดอกไม้ป่าและพันธุ์ไม้ชื้นสลับกันเป็นหย่อม ๆ มีประวัติความเป็นมาว่า ในอดีตมีนักเดินทางได้ใช้ประโยชน์จากเพิงหินเหล่านี้เป็นที่กำบังแดดและฝน เปรียบเพิงหินเสมือน พวงเกวียน หรือประทุนของเกวียน และเพี้ยนไปเป็น กงเกวียน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ พลาญกงเกวียน

อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย-ความหลากหลายทางชีวภาพ-ภูหินด่าง-พลาญป่าชาด-พลาญกงเกวียน

ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 045-210706

พิกัดภูมิศาสตร์  อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

14.442500, 105.273331

บรรณานุกรม 

กัลยา มิขะมา. น้ำตกถ้ำบักเตว หรือน้ำตกห้วยหลวง ณ อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย, 20 กันยายน 2560. https://www.gotoknow.org/posts/157037

โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์. อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จ.อุบลราชธานี,  20 กันยายน 2560. http://www.oceansmile.com/E/Ubon/phujong.htm

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง