ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร เลี้ยงม้าแกลบเพื่อบำบัดโรคและท่องเที่ยวผจญภัย

ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นชมรมที่เลี้ยงม้าแกลบหรือม้าแคระกว่า 50 ตัว เพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ม้าพื้นเมือง นอกจากนั้นยังมีการจัดกิจกรรมฝึกขี่ม้า การขี่ม้าท่องเที่ยวผจญภัย อาชาบำบัดโรคออทิสติก และการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ

ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า

ความเป็นมาของชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร

ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร เกิดขึ้นจากความรักและความตั้งใจของนายชูชาติ วารปรีดี หรืออาจารย์ชูชาติ อดีตข้าราชการครูชาวลำปางที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยเริ่มจากการเลี้ยงม้าพันธุ์พื้นบ้านจำนวน 1 ตัว จนปัจจุบันมีม้าพันธุ์พื้นบ้านที่เลี้ยงและขยายพันธุ์ได้กว่า 40-50 ตัว ม้าที่เลี้ยงนั้นเป็นม้าพันธุ์พื้นบ้านที่มีขนาดเล็ก ตัวโตเต็มที่สูงเฉลี่ยประมาณ 120-130 เซนติเมตร เรียกกันว่า ม้าแคระ หรือ ม้าแกลบ ซึ่งสมัยก่อนม้าจะเป็นพาหนะสำหรับการเดินทาง สำหรับใช้ขี่และใช้เทียมรถ เป็นรถม้า ก่อนที่จะมีรถยนต์ใช้อย่างในปัจจุบัน

ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า

ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้าน อาจารย์ชูชาติ ประธานชมรม ได้ออกแบบแนวทางในการอนุรักษ์ไว้ โดยปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเลี้ยงม้าและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางชมรมจัดขึ้น เช่น การเรียนรู้นิสัยของม้า การฝึกขี่ม้า การผจญภัยและการเอาตัวรอด การบริการท่องเที่ยวขี่ม้าชมธรรมชาติ ศึกษาวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีชุมชน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรักและสนใจม้าพื้นบ้านและอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น

ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า

นอกจากนั้นแล้วภารกิจที่สำคัญของชมรม คือ การใช้ม้าเพื่อบำบัดโรคออทิสติก ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสมองตั้งแต่กำเนิดที่ส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 3 ด้านได้แก่ พัฒนาการด้านการสื่อสาร ด้านการเข้าสังคม และด้านการเล่น ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคออทิสติกที่แน่นอน เชื่อกันว่าภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์และการคลอด พบได้บ่อยถึงร้อยละ 1 และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี  อาการสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป และมักมีอาการที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่ออายุ 3 ปี จากหลักฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันโรคออทิสติกไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถรักษาให้มีอาการดีขึ้นและปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสม

การขี่ม้าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่นำมาบำบัดอาการออทิสติกและสมาธิสั้นได้ จากผลการวิจัยพบว่าหลังจากให้เด็กสมองพิการ 25 คน ขี่ม้าวันละ 20 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน ปรากฏว่าเด็กกลุ่มนี้มีการทรงตัวที่ดีขึ้น บางการศึกษาพบว่า หลังจากการขี่ม้า 8 นาทีทำให้อาการเกร็งของเด็กสมองพิการ 15 คนดีขึ้น

ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า ม้าพื้นเมือง-ม้าแกลบ-อาชาบำบัด-โรคออทิสติก-การขี่ม้า

ที่ตั้ง ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร

บ้านหนองชาติ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร

15.2675130, 105.4913760

บรรณานุกรม

ชูชาติ วารปรีดี. (2560). สัมภาษณ์ 26 เมษายน 2560

โรงเรียนอนุบาลดอนเมืองบริรักษ์ (2556). อาชาบำบัด” จังหวะเดินของม้า…รักษาออทิสติกในคน, 19 กันยายน 2560. http://www.dmb.ac.th/อาชาบำบัด-รักษา/

southLao tour.com. ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้าน อุบลราชธานี เพื่ออนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านในอดีต, 19 กันยายน 2560. http://www.southlaostour.com/แหล่งท่องเที่ยว-อุบลราชธานี-ธรรมชาติ/ชมรมอนุรักษ์-ม้าพันธุ์พื้นบ้าน-อุบลราชธานี.html

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง