งานข้อมูลท้องถิ่นได้นำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมานำเสนอในรูปแบบสื่อ 3 มิติ (3D Model) โดยการบูรณาเข้ากับการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เทียนพรรษาโบราณ
เทียนมัดรวม : 3D model โดย วิเชียร วงษ์ศรีแก้ว
เทียนมัดรวม เป็นรูปแบบเทียนพรรษาโบราณแบบหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี มีการนำเทียนขนาดสั้น กลาง และยาวมามัดรวมกันด้วยเชือกปอ ตัดกระดาษสีมาตกแต่งเปราะแต่ละอันในสวยงาม วางบนฐานไม้เป็นชั้น ๆ ให้สวยงาม จึงนำไปถวายวัด
ลวดลายเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก
ลวดลายต่าง ๆ ที่แกะสลักลงบนเทียนพรรษาในการทำต้นเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นภูมิปัญญาในการสร้างงานให้เกิดมิติเห็นภาพ ผู้ที่จะแกะสลักลวดลายเทียนพรรษาจะต้องมีพื้นฐานในการเขียนลายไทย จึงจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงามได้ดี ลวดลายที่ใช้ในการแกะสลักจะเป็นการประยุกต์รวมลายไทยต่าง ๆ ให้วิจิตรสวยงาม เช่น ลายกระหนก กระจัง ประจำยาม ลายเครือเถา ลายก้านขด เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักได้แก่เครื่องมือประเภทตัด เจาะ เซาะ ขูด ซึ่งมีการประดิษฐ์ขึ้นมาใช้งานแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม
ลายประจำยามก้ามปู : 3D Model โดย ฑนพล ผกาพันธ์
ลายก้านขดออกช่อหางโต : 3D Model โดย ปราโมทย์ บรรจงจิตร
ลายสัตว์หิมพานต์ประกอบลายกระหนก : 3D Model โดย ฑนพล ผกาพันธ์
ลวดลายอีสาน
ลายก้านขดพรรณพฤกษา ออกช่อดอกกาละกับ : 3D model โดย คงเดช นิยมวงศ์
ปรากฏอยู่ที่บานประตูอุโบสถวัดสุปัฏนารมวารวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำหลักไม้ปิดทองล่องชาดลายก้านขดพรรณพฤกษา ออกช่อดอกกาละกับ ลวดลายเอกลักษณ์ของภาคอีสาน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 9 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2533 ปัจจุบันอุโบสถนี้คือหอศิลปวัฒนธรรมของวัดสุปัฏนารามวรวิหาร
ลายเครือเถาพรรณพฤกษา : 3D model โดย คงเดช นิยมวงศ์
ปรากฏอยู่ที่ผนังด้านหลังของธรรมาสน์วัดโพนงาม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี งานแกะสลักนูนต่ำลงรักปิดทอง สกุลช่างท้องถิ่นอีสาน
ลายเครือเถาพรรณพฤกษา : 3D Model โดย สุภาพร บุญผุย
ปรากฏอยู่ที่ผนังด้านหน้าของธรรมาสน์วัดโพนงาม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ลายก้านขดพรรณพฤกษา : 3D Model โดย สุภาพร บุญผุย
ปรากฏอยู่ที่ผนังด้านหน้าของธรรมาสน์วัดโพนงาม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ช่อฟ้าวัดมณีวนาราม : 3D Model โดย คงเดช นิยมวงศ์
ช่อฟ้าจำหลักไม้ปิดทองลายฉลุ ของวัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะจงอยปากครุฑ มีหงอนเป็นลายหางไหลสี่หยักไปจนถึงยอด เพรียวบางสะบัดปลายลาย ลำตัวปิดทองลายฉลุ ลายกระจังมีเส้นคั่นเป็นช่วง ๆ มีครีบด้านหลังปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี