สิมอีสานช่างสกุลญวน วัดค้อแขม วารินชำราบ

วัดค้อแขม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วัดที่มีสิมหรืออุโบสถฝีมือสกุลช่างญวนที่สมบูรณ์ที่สุดของอำเภอวารินชำราบ และมีหอแจกหรือศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้สีหน้าของหอแจกนั้นเป็นผลงานฝีมือของพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม ของภาคอีสาน

สิมวัดค้อแขม อำเภอวารินชำราบ ฝีมือช่างสกุลญวน
สิมวัดค้อแขม อำเภอวารินชำราบ แบบก่ออิฐถือปูน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของช่างนา เวียงสมศรี ช่างสกุลญวนที่สมบูรณ์ที่สุดของ อำเภอวารินชำราบ สร้างปี พ.ศ. 24767-2479

ประวัติวัดค้อแขม อำเภอวารินชำราบ

วัดค้อแขม หรือ วัดบ้านค้อแขม หรือวัดบ้านค้อแขม เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 35 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 20766 อาณาเขต ทิศเหนือจดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้จดที่นานายศิริ ลีคําหมาน ทิศตะวันออก จดทางสาธารณประโยชน์ทิศตะวันตก จดที่นานางปุ้ย คําประเสริฐ

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 6.70 เมตร ยาว 17 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตทรงไทยสร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 ศาลาการเปรียญ กว้าง 10 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2502 กุฏิ สงฆ์จํานวน 8 หลัง เป็นอาคารไม้ 4 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 หลัง และตึก 1 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 8.80 เมตร ยาว 35.36 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2489 และศาลาบําเพ็ญกุศล จํานวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีต ปูชนียวัตถุมีพระประธาน 2 องค์ปางมารวิชัย พระอัครสาวก ซ้าย-ขวาขนาดหน้าตักกว้าง 20 นิ้ว สูง 27.5 นิ้ว พระพุทธรูปางมารวิชัย จํานวน 3 องค์

วัดค้อแขม ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2387 โดยชาวบ้านแขมได้รววมกันสร้างวัดขึ้น และตั้งชื่อวัดตามชื่อของหมู่บ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 8.60 เมตร ยาว 20 เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระครูวารินธรรมรัต พ.ศ. 2494-2510 รูปที่ 2 พระครูพิศาล คุณวุฒิ พ.ศ. 2512-2535 รูปที่ 3 พระปลัดพจน์กุสโล ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2519

ด้านหลังของสิมวัดค้อแขม
ด้านหลังของสิมวัดค้อแขม
ด้านข้างของสิมวัดค้อแขม
ด้านข้างของสิมวัดค้อแขม
 องค์ประกอบต่าง ๆ ของสิมวัดค้อแขม
องค์ประกอบต่าง ๆ ของสิมวัดค้อแขม
ประตูโขง วัดค้อแขม ผลงานของพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม
ประตูโขง วัดค้อแขม ผลงานของพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม
หอแจก หรือศาลาการเปรียญที่สร้างด้วยไม้ของวัดค้อแขม
หอแจก หรือศาลาการเปรียญที่สร้างด้วยไม้ของวัดค้อแขม
สีหน้าของหอแจก ผลงานของพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม
สีหน้าของหอแจก ผลงานของพ่อใหญ่คำหมา แสงงาม ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม
โปงไม้ วัดค้อแขม
โปงไม้ วัดค้อแขม
โฮงฮด วัดค้อแขม
โฮงฮด วัดค้อแขม
ฌาปณสถาน วัดค้อแขม
ฌาปณสถาน วัดค้อแขม

ที่ตั้ง วัดค้อแขม

เลขที่ 56 บ้านแขม หมู่ที่ 2 ตําบลคูเมือง อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี

พิกัดภูมิศาสตร์ วัดค้อแขม

15.110194, 104.893199

บรรณานุกรม

ติ๊ก แสนบุญ. (2558). ศิลปะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมืองอุบล. อุบลราชธานี: สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปประยุกด์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ติ๊ก แสนบุญ. (2560). “สิมอีสาน” ในยุคประชาธิปไตยและความเป็นไทย ช่วงพ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๐๐, 7 กุมภาพันธ์ 2563, https://www.silpa-mag.com/history/article_13602

มะลิวัลย์ สินน้อย, ผู้รวบรวม. (2551). ฐานข้อมูลวัดในจังหวัดอุบลราชธานี, 26 สิงหาคม 2559. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/ubon_temple

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง