สุวิชช คูณผล

สุวิชช คูณผล ข้าราชการบำนาญอดีตปลัดเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ท่านมีบทบาทสำคัญเป็นผู้มีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนั้นท่านยังเป็นนักเขียน นักสะสมที่สืบเสาะ ค้นคว้า หาข้อมูลและถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ให้สาธารณะชนได้รับรู้อีกด้วย

สุวิชช คูณผล
สุวิชช คูณผล

ประวัตินายสุวิชช คูณผล

นายสุวิชช คูณผล ท่านเคยดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลของเทศบาลเมืองอุบลราชธานีและอุดรธานี ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ

การดำเนินชีวิต ตำแหน่งหน้าที่การงาน รวมทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ท่านเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมาของการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ ศิลปะกรรมงานประเพณี บุคคลสำคัญ เป็นต้น ท่านมีบทบาทสำคัญเป็นผู้มีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนั้นท่านยังเป็นนักเขียน นักสะสมที่สืบเสาะ ค้นคว้า หาข้อมูลและถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ให้สาธารณะชนได้รับรู้อีกด้วย

บทบาทของนายสุวิชช คูณผลในการเป็นวิทยากร ผู้รู้ด้านวัฒธรรมและภูมิปัญญาของจังหวัดอุบลราชธานี
บทบาทของนายสุวิชช คูณผลในการเป็นวิทยากร ผู้รู้ด้านวัฒธรรมและภูมิปัญญาของจังหวัดอุบลราชธานี

ผลงาน การเผยแพร่ องค์ความรู้ของนายสุวิชช คูณผล

  • สร้างตลาดสดหลังคาทรงไทย ที่เทศบาลเมืองวารินชำราบ
  • สร้างตลาดผ้าอาคารพาณิชย์ เป็นศูนย์การค้าครบวงจร ที่เทศบาลเมืองวารินชำราบ
  • สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กมาตรฐานลานบินทั่วเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ
  • ร่างคำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี เสนอจังหวัดเพื่อพิจารณา เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 จนเป็นที่ยอมรับและใช้มากกว่า 20 ปี
  • สร้างสำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานีหลังปัจจุบัน แบบศิลปะไทย ให้เข้ากับภูมิสถาปัตย์รอบทุ่งศรีเมือง
  • สร้างศาลาว่าการเมืองพัทยามูลค่า 100 ล้านบาท และสร้างสำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี 9 ชั้น
  • สร้างเขื่อนอเนกประสงค์ริมแม่น้ำมูล ข้างตลาดสดเทศบาล 3
  • อนุรักษ์ทุ่งศรีเมืองให้เป็นสวนสาธารณะกลางเมืองอุบลราชธานี
  • บูรณะหนองประจักษ์ เป็นสัญลักษณ์เมืองอุดรธานี งบประมาณ 500 ล้านบาท
  • เป็นผู้ริเริ่มเสนอความคิดจัดงานบวงสรวงพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี ขยายจากกลุ่มเชื้อสายเจ้าเมืองเดิม ออกสู่สาธารณชนทั่วทั้งจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และอำนาจเจริญ
  • เป็นผู้เสนอความคิดในการประกวดต้นเทียนแยกออกเป็น 3 ประเภท ในปัจจุบัน คือ
  • ประเภทติดพิมพ์ แยกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
  • ประเภทแกะสลัก แยกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
  • ประเภทโบราณต้นแบบ
  • เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงประวัติ ความเป็นมาเกี่ยวกับ “ผ้าซิ่นไหม” ที่ชาวอุบลราชธานีทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทรงฉลองพระองค์ “ซิ่นไหม” นั้น ในวโรกาสเสด็จเยือนเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498
  • เขียนบทความในคอลัมภ์ “อุบลบานเกสรขจรไกล” ในวารสาร “ข่าวหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี” เป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา จนถึงปี 2550 รวมบทความกว่า 60 เรื่อง โดยมีหลักการ “นำความดีงามในอดีตมาฟื้นฟู เชิดชูในปัจจุบัน สร้างสรรค์ สืบสาน สู่อนาคต” มีเป้าหมายให้ครบร้อยเรื่องแล้วรวมเล่มเพื่อเป็นประโยชน์ส่วนรวม
  • เสนอความคิดสร้างสรรค์ “อุบลฯ คนละบาทสืบสานปราชญ์เมืองอุบล” เพื่อแก้ปัญหาอันไม่พึงประสงค์ที่จะส่งผลให้เมืองอุบลราชธานีเสียหายให้หมดสิ้นไป
  • เสนอแนวความคิดให้มี “ภูมิพลังเมืองอุบล” จากคลังสมองของบ้านเมืองเพื่อความสมานฉันท์ในการสร้างสรรค์ อนุรักษ์ แก้ไขปัญหาด้วยปราชญ์วิถีสมญานาม “อุบลเมืองนักปราชญ์”
วิทยากรผู้รวบรวมและเล่าเรื่องภาพเก่าเมืองอุบลราชธานี
วิทยากรผู้รวบรวมและเล่าเรื่องภาพเก่าเมืองอุบลราชธานี

เกียรติคุณนายสุวิชช คูณผลที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2519 เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้น 1
  • พ.ศ. 2535 วุฒิบัตร จากกองทัพบก ได้รับเกียรติเป็นนักเหินเวหากองทัพอากาศกิตติมศักดิ์
  • พ.ศ. 2541 ประกาศเกียรติคุณชั้น 1 จากกระทรวงมหาดไทยในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ บังเกิดผลดีแก่ท้องถิ่น
  • พ.ศ. 2541 เกียรติคุณบัตรจากเทศบาลนครอุดรธานี ยกย่องเชิดชูเกียรติในการพัฒนาท้องถิ่นปรากฏผลดีเด่น
  • พ.ศ. 2541 ประกาศเกียรติคุณจากสมาคมนักบริหารงานเทศบาล ในการบริหารงานเทศบาลด้วยดี มีความรู้ ความสามารถสูงควรแก่การสรรเสริญ
  • พ.ศ. 2545 ได้รับ “โล่รัตโนบล” จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ด้านวิชาการต่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2547 โล่วันพ่อดีเด่น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เพื่อเป็นเกียรติและที่ระลึกสำหรับคุณงามความดีที่ได้รับการยกย่องเป็น “พ่อดีเด่นราชภัฏ”
  • พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวัฒนธรรมศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2558 ได้รับยกย่องเชิดชูเป็นมูนมังเมืองอุบลราชธานี สาขาวรรณกรรม

ที่อยู่ นายสุวิชช คูณผล

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

บรรณานุกรม

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี. (2552). อุบลราชธานี เมืองนักปราชญ์. อุบลราชธานี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี.

Tag

การทอผ้าไหม การทำต้นเทียนพรรษา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม การแกะสลักเทียนพรรษา ครูภูมิปัญญาไทย บุญมหาชาติ บุญเดือนแปด ชุมชนทำเทียนพรรษา บ้านชีทวน พักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น ประเพณีอีสาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา วัดหนองป่าพง วิถีชีวิตคนอีสาน วิปัสสนากรรมฐาน ศิลปกรรมญวน ศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน ศิลปะญวน สถาปัตยกรรมท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีสาน สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา สาขาวัดหนองป่าพง สิม หัตถกรรมการทอผ้า อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอน้ำยืน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอวารินชำราบ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอเดชอุดม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี อุโบสถ ฮีตสิบสอง