งานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนที่จะมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยนั้น กรรมวิธีดั้งเดิมในการขึ้นรูปเครื่องปั้นจะไม่ได้ใช้แป้นหมุน แต่จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า หินดุและไม้ตี ช่วยในการขึ้นรูป ซึ่งกรรมวิธีแบบนี้ยังมีให้เห็นในบางพื้นที่ ซึ่งได้สืบสานและอนุรักษ์ไว้แหล่งศึกษาเรียนรู้ในเชิงวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว
หินดุ ทำจากดินเผาหรือหิน มีลักษณะคล้ายดอกเห็ด ผิวหน้าเรียบมน มีความแข็งแรงทนทาน หินดุ จะให้สำหรับกระทุ้ง ดุน หรือดันเนื้อดินไว้เพื่อรองรับการตีจากด้านนอกให้เครื่องปั้นมีรูปทรงและความหนาตามที่ต้องการ
ไม้ตี ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีหลายรูปแบบหลายขนาด ทั้งรูปทรงสี่เหลี่ยม ทรงรี ผิวเรียบ บางอันจะมีการคว้านเนื้อไม้ให้เป็นร่องโค้งเรียบเพื่อใช้สำหรับตีบริเวณก้นหม้อให้โค้งมนสม่ำเสมอกันทุกด้าน มีด้ามจับ และใช้คู่กับหินดุ โดยหินดุจะดันเนื้อดินด้านในไว้เพื่อิรองรับการตบหรือตีของไม้ตีที่ผิวด้านนอกของเครื่องปั้นให้ดินอัดแน่น ราบเรียบ และได้รูปทรงตามที่ต้องการ
ไม้ตีลาย ทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีการแกะสลักลวดลายลงไปในเนื้อไม้ เพื่อนำไปกด หรือพิมพ์ลายให้กับเครื่องปั้นให้มีความสวยงาม มักจะทำเป็นลายเส้น หรือเลขาคณิต พิมพ์ลงบนคอหรือใกล้ ๆ ปากของหม้อดิน นอกจากนี้ยังมีลูกกลิ้งสักลาย ที่เป็นอุปกรณ์ช่วยในการสร้างลวดลายได้เหมือนกัน ทำมาจากไม้เนื้อแข็งท่อนกลมหนา มีการสลักลวดลายบนผิวหน้า และเจาะรูตรงกลางเพื่อเป็นแกนให้สอดไม้เข้าไปได้ การใช้งานจะทำการกลิ้งกดลายลงไปบนเครื่องปั้น ซึ่งจะทำให้ได้ลวดลายที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
หินดุ
ขนาด :
ชิ้นที่ 1 : ความสูง 10 เซนติเมตร รูปทรงครึ่งวงกลม ความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 10.5 เซนติเมตร
ชิ้นที่ 2 : ความสูง 9 เซนติเมตร รูปทรงครึ่งวงกลม มีความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร
ไม้ตี
ชิ้นที่ 1
ลักษณะ : ทำจากไม้ รูปร่างทรงรียาว ผิวเรียบ ใช้สำหรับตีส่วนที่ต้องการความโค้งงอ
ขนาด : ความยาว 40 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร
ชิ้นที่ 2
ลักษณะ : ทำจากไม้ รูปร่างคล้ายไม้ตีปิงปอง ผิวเรียบทั้งสองด้าน
ขนาด : ความยาว 29.5 เซนติเมตร หน้าตียาว 15.5 เซนติเมตร กว้าง 9.5 เซนติเมตร หนา 1.8 เซนติเมตร ส่วนด้ามยาว 14 เซนติเมตร
ไม้ตีลาย หรือ ไม้สักลาย
ลักษณะ : ทำจากไม้ รูปร่างเหมือนไม้ตีปิงปอง ด้านหนึ่งผิวหน้าเรียบ อีกด้านสลักลายเส้นตรง มีด้ามจับ
ขนาด :
ชิ้นที่ 1 : ความยาว 18.5 เซนติเมตร ส่วนด้ามยาว 14 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร หนา 1.5 เซนติเมตร ส่วนหน้าตียาว 14.2 เซนติเมตร หน้ากว้าง 10 เซนติเมตร หนา 1.5 เซนติเมตร
ชิ้นที่ 2 : ความยาว 19 เซนติเมตร ส่วนด้ามยาว 14 เซนติเมตร กว้าง 2.7 เซนติเมตร หนา 1.5 เซนติเมตร ส่วนหน้าตียาว 15 เซนติเมตร หน้ากว้าง 9 เซนติเมตร หนา 2 เซนติเมตร
ลักษณะ : ทำจากไม้ มีด้ามจับทรงกระบอก หน้าตีแกะสลักลวดลายสี่เหลี่ยม
ชิ้นที่ 1 : ความยาวทั้งหมด 22 เซนติเมตร ส่วนหน้าตียาว 10 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร หนา 4.2 เซนติเมตร ส่วนด้ามยาว 10 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร
ชิ้นที่ 2 : ความยาวทั้งหมด 24.6 เซนติเมตร ส่วนหน้าตียาว 11.5 เซนติเมตร กว้าง 3.7 เซนติเมตร หนา 2.8 เซนติเมตร ส่วนด้ามยาว 13.1 เซนติเมตร
บรรณานุกรม :
ธวัช ปุณโณทก. (2542). บ้านโค้งสวรรค์: เครื่องปั้นดินเผา ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. หน้า 2309-2313
พิชชา ทองขลิบ. (2561). ไม้ตีหม้อ. ไม้ตีลาย ในฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน, เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561. http://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=29