เมื่อทำการปั่นหรือเข็นฝ้ายให้เป็นเส้นแล้ว จะทำการจัดเก็บเส้นฝ้ายโดยการพันเข้ากับอุปกรณ์ที่เรียกว่า ไม้เปีย เพื่อไม่ให้เส้นฝ้ายพันกัน ทำให้เป็นปอยหรือไจที่สะดวกต่อการใช้งาน
ไม้เปีย นิยมทำจากไม้เนื้อแข็ง รูปร่างคล้ายตัว Hในภาษาอังกฤษในภาคอีสานพบ 2 ลักษณะ คือ ไม้เปียแบบไขว้ และไม้เปียแบบขนาน
ไม้เปียแบบไขว้ ลักษณะไม้ที่ปิดหัวและท้ายจะวางไขว้กัน กล่าวคือ ด้านหนึ่งวางแนวตั้ง อีกด้านหนึ่งวางแนวนอน ส่วนไม้เปียแบบขนาน ไม้ที่ปิดหัวและท้ายจะวางขนานกันเป็นรูปตัว H
วิธีการใช้งาน จะนำเส้นฝ้ายออกจากเหล็กใน เกี่ยวที่นิ้วหัวแม่เท้าที่วางขนานกับไนเพื่อเป็นหลักพัน มือข้างหนึ่งจับตรงแกนกลางของไม้เปีย มืออีกข้างหนึ่งจับเส้นฝ้ายมาพันกับหลักเปีย กะน้ำหนักมือในการพันให้สม่ำเสมอและไม่ให้เส้นฝ้ายพันไม้เปียหย่อนหรือแน่นเกินไป พันจนเส้นฝ้ายหมดหรือได้ปริมาณตามที่ต้องการ ก็จะคลายหรือถอดออกจากไม้เปียมาทำเป็นปอยหรือไจ
จำนวน : 1 ชิ้น
ไม้เปีย จำลอง
ลักษณะ : ไม้เปียแบบขนาน ทำจากไม้เนื้ออ่อน
ขนาด : ความกว้าง 24 เซนติเมตร ความยาว 18 เซนติเมตร ความหนา 1.5 เซนติเมตร
บรรณานุกรม :
สิทธิชัย สมานชาติ. (2553). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2007 108 มรดกสิ่งพิมพ์. อุบลราชธานี: คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.