ผู้เขียน: admin

หลวงพ่อเงิน 700 ปี วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง

หลวงพ่อเงิน 700 ปี วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง

หลวงพ่อเงิน 700 ปี วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนล้านช้าง เป็นพระชัยหลังช้าง หนึ่งเดียวแห่งอีสาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสถาปนาเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย เป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมและความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ต่างกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์และปฏิหาริย์ของหลวงพ่อเงิน พระพุทธรูปที่สร้างตำนานยาวนานกว่า 700 ปี

พระสัพพัญญูเจ้า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระสัพพัญญูเจ้า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระสัพพัญญูเจ้า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะผสมขัดเงา โดย พระอุปัชฌาย์สีทา
ชัยเสโน เป็นช่างและเป็นประธานดำเนินการหล่อ มีนามเมื่อแรกสร้างว่า “พระพุทธสัพพัญญูเจ้า” หน้าตัก 4 คืบพระสุคต การหล่อใช้โลหะธาตุหนัก 30 หาบ การขัดเงาราศีรัศมีแผ่กระจายสง่างามมาก

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินทร์แปง) วัดมหาวนาราม

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินทร์แปง) วัดมหาวนาราม

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง) เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง คำว่า “อินแปง” ภาษาไทยอีสาน “แปง” แปลว่า “เฮ็ด ทำ สร้าง” ก็หมายความว่า พระเจ้าใหญ่องค์นี้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญสร้าง พระอินทร์เป็นผู้ประทานเฮ็ด(ทำ) ไว้ให้เห็นเป็นมิ่งมงคลแก่ชาวเมืองอุบลราชธานี

อ่านต่อ…

พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง

พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง

พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ชาวจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งแต่สร้างเมืองอุบลราชธานี โดยพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) นำมาจากเวียงจันทร์ และประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญของวัดหลวง มีพุทธศาสนิกชนทั้งในอุบลราชธานีและต่างจังหวัด ตลอดจนชาวต่างชาติเข้ามากราบไหว้ บูชาขอพรมิได้ขาด

พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น วัดอูบมุง

พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น วัดอูบมุง

พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น วัดอูบมุง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปนาคปรกที่มีนาคปรกเหนือเศียรถึง 11 ตัว มากกว่าพระนาคปรกใด ๆ สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ชาวเขมราฐมีความศรัทธาเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาอย่างยาวนาน

พระเจ้าใหญ่องค์แสน วัดโพธิ์

พระเจ้าใหญ่องค์แสน วัดโพธิ์

พระเจ้าใหญ่องค์แสน วัดโพธิ์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐโบราณ
ถือด้วยน้ำเกสรดอกไม้และน้ำเปลือกไม้ ตามภูมิปัญญาของคนโบราณเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของชาวเขมราฐตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน

อ่านต่อ…