ผู้เขียน: admin

หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู

หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู

หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต เป็นผู้มีความชำนาญแตกฉานทั้งสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่าง ๆ ที่กล้าแกร่งในแนวทางของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวิ่นไชย เมืองปาเซ นครจำปาสัก เป็นพระผู้ทรงอภิญญา เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ท่านได้มีเมตตาประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่าง ๆ การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง “ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ” ดังนั้น ควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง 7 ครั้ง ว่ากันว่าอักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูกและถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้วจะอยู่ยงคงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ขาว อนาลโย นับเป็นพระวิปัสสนาจารย์เถร ซึ่งเป็นศิษย์ยุคต้นของพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่มีปฏิปทาวัตรปฏิบัติเจริญรอยตามแนวทางของพระอาจารย์ใหญ่ได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน หลวงปู่เป็นพระอริยสงฆ์ พระสุปฏิปันโนและพระวิปัสสนา-จารย์เถรเป็นที่เคารพนับถือศรัทธาเลื่อมใสของพุทธบริษัททุกระดับชั้นเป็นอย่างยิ่ง วัตรปฏิบัติของหลวงปู่ควรเป็นแบบอย่างให้อนุชนได้ศึกษาเรียนรู้ และนำไปประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งเช่นกันจึงสมควรยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ปราชญ์” เมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

สำเร็จลุน (ลุน)

สำเร็จลุน (ลุน)

สำเร็จลุน หรือหลวงปู่ลุน นับเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระรุ่นแรก ๆ ที่ชาวอุบลราชธานีให้ความเคารพนับถือเลื่อมใสเป็นอย่างมาก แม้ว่าวัตรปฏิบัติปฏิปทาส่วนหนึ่งของท่านเป็นไปในแนวทางพระเกจิอาจารย์ คือ มีความรู้ความสามารถในเรื่องคาถาอาคม เวทมนต์ต่าง ๆ จนเชื่อกันว่ามีอิทธิฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศได้ นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนยุคสมัยนั้น ซึ่งมีความผูกพันอยู่กับความเชื่อดั้งเดิมในเรื่อง “เทวนิยม” เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา ภูตผีต่าง ๆ เป็นต้น ผสมผสานกับความเชื่อในหลักศาสนา คือพราหมณ์และพุทธที่เคารพนับถืออีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น พระสงฆ์เถระซึ่งชื่อว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ก็ย่อมจะใช้หลักความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ฝึกฝนอบรมเล่าเรียนมาในแต่ละด้าน หรือผสมผสานกันหลาย ๆ ด้าน เพื่อเป็นกลวิธีหรือุบายในการอบรม สั่งสอน ฝึกฝนประชาชนให้
ประพฤติปฏิบัติ ตามจริตความสามารถแต่ละคน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือให้ทุกคนมีสุขกาย สบายใจ ถือเป็นความสุขของชีวิต ดังนั้น หลวงปู่ลุนจึงเป็นทั้ง พระวิปัสสนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ ที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่สมควรได้รับยกย่องเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลโดยแท้จริงอีกองค์หนึ่ง

อ่านต่อ…

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดที่สำคัญ ๆ ถึง 4 วัด ได้เป็นเจ้าคณะมณฑล 4-5 มณฑล ได้เป็นสังฆนายกองค์แรกของประเทศไทย ในด้านการศึกษา ท่านเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นในวัดต่าง ๆ ในบริเวณเมืองอุบลราชธานีและเมืองใกล้เคียง จนเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น “ผู้บุกเบิกการศึกษาไทยในภาคอีสาน” รวมทั้งการตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลอีสาน ด้านการศาสนา เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุขึ้นในวัดต่าง ๆ อบรมสั่งสอนประชาชนโดยการแสดงธรรมเทศนาในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ เขียนหนังสือหรือบทความตีพิมพ์เผยแพร่ สร้างคติธรรมหรือคติพจน์อันเฉียบคมเพื่อเป็นข้อคิดหรือแนวปฏิบัติสำหรับประชาชน ควรได้รับการยกย่องเป็น “ปราชญ์” ผู้สำคัญของเมืองอุบลราชธานีโดยแท้

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นพระสุปฏิปันโนที่ได้ชื่อว่า “ผู้ปักธง กัมมัฏฐาน กลางมหานคร” มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่นภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลสำเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความ
เจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม มีความเป็นพระวิปัสสนาธุระและพระคันถธุระไปพร้อมกัน สามารถ
ผสมผสานองค์ความรู้ทางด้านทฤษฎี (คันถธุระ) และองค์ความรู้ด้านปฏิบัติ (วิปัสสนาธุระ) ได้อย่างลงตัวและเหมาะสมสมควรได้รับการยกย่อง สรรเสริญ เชิดชูเป็น “ปราชญ์” ของชาวอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต ) เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เป็นผู้ “คิดกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี” ท่านสามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรและสอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ในที่สุด ซึ่งหาได้ไม่ง่ายนัก นอกจากนั้นก็เรียนภาษาต่างประเทศจนสามารถ ฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมันได้เป็นอย่างดี ท่านได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญและมีผลงานมากมาย ได้แก่ เป็นเจ้าคณะภาค 8 และภาค 10 (ธ) เป็นสมาชิกสังฆสภา เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในสeนักวัดต่าง ๆ เป็นกรรมการ มหามกุฏิราชวิทยาลัย กรรมการ
ตรวจธรรมและบาลีสนามหลวง เป็นกรรมการตรวจชำระพระไตรปิฎก สร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุที่สำคัญ เป็นผู้ที่รักถิ่นเกิดและวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและวรรณคดีอีสาน ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” ซึ่งนับเป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปที่ 3 ของจังหวัดอุบลราชธานี จึงเห็นสมควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็น “ปราชญ์” ของเมืองอุบลราชธานี

อ่านต่อ…