ผู้เขียน: admin

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เป็นพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคารพในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีปฏิปทาศีลาจารวัตรบริสุทธิ์งดงาม กตัญญูกตเวทิตาต่อบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มักน้อยสันโดษ ท่านมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการเผยแผ่นธรรมะ เพราะเกิดส่านึกในมโนธรรมว่า เมื่อสร้างประโยชน์ตนได้เป็นที่พอใจแล้วให้สร้างประโยชน์บุคคลอื่นจึงจะได้ชื่อว่ากระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ท่านจึงได้พัฒนาวัดหนองป่าพงให้เป็นที่เผยแผ่ธรรมะ ทั้งด้วยการแสดงธรรม ปฏิบัติธรรม นำหัวข้อธรรมที่สั้น ๆ กินใจติดตามต้นไม้ทั่วบริเวณวัดให้ผู้ได้มาวัดใช้เป็นข้อเตือนใจให้สำรวมระวังและเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิตให้พบความสุขสงบเย็น

พระพุทธิวงศมุนี (บุญมา ทีปธมฺโม)

พระพุทธิวงศมุนี (บุญมา ทีปธมฺโม)

พระพุทธิวงศมุนี (บุญมา ทีปธมฺโม) เกิดที่บ้านชาดฮี ตำบลนาโพธิ์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระเถรผู้กตัญญู มีภูมิรู้ มีภูมิธรรม ปฏิทามั่นคงในบวรพุทธศาสนา มีศิลาจารวัตรงดงาม กอปรด้วยพรหมวิหารธรรมมีอัธยาศัยสุขขุมเยือกเย็น มีเมตตาธรรมเอื้ออาทรต่อหมู่คณะเป็นนักพัฒนาทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ และการสาธารณูปการตามลักษณะรูปแบบการจัดการปกครองของคณะสงฆ์ เป็นพระเถระที่ได้บำเพ็ญเพียรความดีมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งส่วนอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ เป็นที่ปรากฏชัดเจนจนภิกษุสามเณรและสาธุชนทั่วไปยกย่องสรรเสริญว่า “เป็นพระเถระผู้มีความดี” นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระเถระผู้รอบรู้วิชาโหราศาสตร์ ท่านจึงเป็นที่เคารพรักนับถือของศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป ด้วยการประกอบคุณงามความดีเป็นประโยชน์แก่วงการพระพุทธศาสตร์เป็นอเนกประการและดำรงตนอยู่ในศีลาจารวัตรเป็นแบบอย่างแก่สานุศิษย์ ตลอดจนสงเคราะห์ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามอัตภาพจึงขอเชิดชูเกียรติและยกย่องให้ท่านเป็น “ปราชญ์” เมืองอุบลราชธานี

พระพรหมวิชรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)

พระพรหมวิชรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)

พระพรหมวิชรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) พระมหาเถระชาวอุบลราชธานีที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งภูมิธรรม ภูมิปัญญาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นทางคดีธรรม และคดีโลกผลงานย่อมเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของสาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้วิถีชีวิตจะเริ่มต้นจากชาวบ้านที่อยู่ในชนบทห่างไกลแบบชาวอีสานทั่วไป ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความลําบากยากเข็ญเป็นส่วนใหญ่ แต่จะด้วยกุศลกรรมที่กระทําไว้แต่ปางก่อนประกอบกับกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้ ความมุ่งมั่นด้วยพลังใจและพลังกายอันแน่วแน่ในการแสวงหาองค์ความรู้ต่าง ๆ ในหลายด้านส่งผลให้ท่านเป็นผู้ประสบผลสําเร็จที่สูงยิ่ง สมควรยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” แห่งเมืองอุบลราชธานี ยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง

อ่านต่อ…

พระปริยัติโกศล (ถวัลย์ อาจารสุโภ) วัดมณีวนาราม

พระปริยัติโกศล (ถวัลย์ อาจารสุโภ) วัดมณีวนาราม

พระปริยัติโกศล (ถวัลย์ อาจารสุโภ) เป็นพระเถระที่มีอุดมการณ์แน่วแน่ในด้านการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม มีสติปัญญาเฉียบแหลม สามารถศึกษาเรียนรู้ได้รวดเร็ว มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล อุทิศตนเพื่อการศึกษาแห่งพระพุทธศาสนาโดยแท้ จะเห็นได้จากการมุ่งมั่นอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร อุบาสิกา เป็นพระวิทยากรอบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ ครู อาจารย์ ตามหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้ง การแสดงปาฐกถา เทศน์สอนประชาชนทั่วไปทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และงานเทศกาลต่าง ๆ ตามกิจนิมนต์มิได้ขาด มีผู้คนที่ได้ฟังแล้วติดใจจะต้องตามไปฟังซ้ำ ๆ อยู่เสมอ มีผลงานโดดเด่นและมีคุณค่าแก่วงการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง จึงสมควรยกย่องเชิดชูเป็น “ปราชญ์” แห่งเมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) วัดพิชโสภาราม

พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) วัดพิชโสภาราม

พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) เป็นผู้เกิดมาเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง นับตั้งแต่ท่านได้ อุทิศตนเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมในเป็นที่รักของพระภิกษุสามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย กระทั่งเรียนจบนักธรรมชั้นเอก เป็นครูสอนปริยัติธรรมมาโดยตลอด และเป็นพระภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ได้ ซึ่งใช้เวลาท่องจำเพียง 12 วัน เท่านั้น ด้านวิปัสสนากรรมฐานนั้นได้ฝึกฝนด้วยตนเองจนเข้าใจทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ เปิดสอนทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีพระภิกษุสามเณร ชีปะขาว แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา จากทั่วประเทศ ตลอดจนชาวต่างประต่างประเทศร่วมปฏิบัติธรรม จำนวนมากกว่าหนึ่งแสนคน นอกจากนั้นยังเป็นผู้นำในการเชิญชวนประชาชนทั่วไป ร่วมกันก่อสร้างศาสนวัตถุ เช่น อุโบสถ วิหาร ศาลา การเปรียญ เมรุเผาศพ และสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ จึงเห็นควรได้รับการเคารพบูชา และยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” เมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล) วัดมณีวนาราม

พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล) วัดมณีวนาราม

พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล) ท่านนั้นเป็นพระมหาเถระผู้ริกตัญญูสุปฏิบัติ เป็นแม่ทัพธรรม ผู้กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง หนักแน่น อดทน มีไหวพริบปฏิภาณ ทรงธรรมปัญญาได้รับการยกย่องจากประชาชนทั่วไปว่าเป็นพระนักปราชญ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงถึงชั้นธรรม ในราชทินนามที่ “พระธรรมเสนานี” ความหมายว่าแม่ทัพธรรมด้วยคุณลักษณะดังกล่าวนี้ จึงขอเชิดชูเกียรติ เป็นปราชญ์เมืองอุบลราชธานี อีกรูปหนึ่ง

อ่านต่อ…