พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) วัดพิชโสภาราม

พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) วัดพิชโสภาราม

พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) เป็นผู้เกิดมาเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง นับตั้งแต่ท่านได้ อุทิศตนเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมในเป็นที่รักของพระภิกษุสามเณร ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย กระทั่งเรียนจบนักธรรมชั้นเอก เป็นครูสอนปริยัติธรรมมาโดยตลอด และเป็นพระภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ได้ ซึ่งใช้เวลาท่องจำเพียง 12 วัน เท่านั้น ด้านวิปัสสนากรรมฐานนั้นได้ฝึกฝนด้วยตนเองจนเข้าใจทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ เปิดสอนทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีพระภิกษุสามเณร ชีปะขาว แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา จากทั่วประเทศ ตลอดจนชาวต่างประต่างประเทศร่วมปฏิบัติธรรม จำนวนมากกว่าหนึ่งแสนคน นอกจากนั้นยังเป็นผู้นำในการเชิญชวนประชาชนทั่วไป ร่วมกันก่อสร้างศาสนวัตถุ เช่น อุโบสถ วิหาร ศาลา การเปรียญ เมรุเผาศพ และสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ จึงเห็นควรได้รับการเคารพบูชา และยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” เมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล) วัดมณีวนาราม

พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล) วัดมณีวนาราม

พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผโล) ท่านนั้นเป็นพระมหาเถระผู้ริกตัญญูสุปฏิบัติ เป็นแม่ทัพธรรม ผู้กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง หนักแน่น อดทน มีไหวพริบปฏิภาณ ทรงธรรมปัญญาได้รับการยกย่องจากประชาชนทั่วไปว่าเป็นพระนักปราชญ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงถึงชั้นธรรม ในราชทินนามที่ “พระธรรมเสนานี” ความหมายว่าแม่ทัพธรรมด้วยคุณลักษณะดังกล่าวนี้ จึงขอเชิดชูเกียรติ เป็นปราชญ์เมืองอุบลราชธานี อีกรูปหนึ่ง

พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร)

พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร)

พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร) เกิดที่บ้านโพนขวาว ต่าบลจิกคู่ อ่าเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระมหาเถระสุปฏิปันโน ฝ่ายคันถธุระชาวอุบลราชธานีที่ส่าคัญยิ่งอีกรูปหนึ่งถึงแม้ท่านจะมีภารธุระการคณะสงฆ์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ หรือภาคพายัพตลอดมา แต่ท่านก็ไม่ได้ละเลยภารธุระทางมาตุภูมิอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน คงให้ความสำคัญพอ ๆ กัน จึงถือว่าท่านได้บ่าเพ็ญประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่พระศาสนา ทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ในการอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมตลอดมา จึงสมควรได้รับการยกย่องเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลราชธานีอีกท่านหนึ่ง

พระธรรมบาล (ทุย) วัดเหนือยางขี้นก

พระธรรมบาล (ทุย) วัดเหนือยางขี้นก

พระธรรมบาล (ทุย) เอาภารธุระพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะด้านคันถธุระเป็นเวลาเท่าไรและมรณภาพที่ไหนเมื่อไรก็ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่พอสืบค้นได้ มีเพียงบรรดาญาติมิตรศิษยานุศิษย์รุ่นต่อรุ่น กล่าวขานทรงจำสืบต่อกันมาเป็นทอด ๆ อาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนัก ผู้สืบค้นรวบรวมต้องอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย อย่างไรก็ตามพระธรรมบาล (ทุย) ก็ถือได้ว่าเป็นเถระชาวอุบลราชธานีรุ่นแรกที่เห็นความสำคัญของการศึกษา โดยเฉพาะด้านคันถธุระ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมการศึกษาของพระสงฆ์และประชาชนในยุคนั้น ให้ความเจริญก้าวหน้า เป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานจนถึงทุกวันนี้ ถือว่าท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองไว้มากมาย สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ปราชญ์” เมือง
อุบลราชธานีโดยแท้

พระธรรมบาล (ผุย) วัดมณีวนาราม

พระธรรมบาล (ผุย) วัดมณีวนาราม

พระธรรมบาล (ผุย) เป็นพระคันถธุระที่มีความขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่นในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมเป็นเลิศ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรธรรม อักษรไทย ตลอดจนอักษรโบราณอื่น ๆ อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอันเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บรรดาสานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป และอุทิศชีวิตให้แก่การศึกษาจนกระทั่งตัวเองพิการทางสายตา นับว่าได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ สำนักเรียนวัดมณีวนาราม และคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานีให้ขจรขจายออกไปทั่วสารทิศจนเป็นศูนย์กลางการศึกษาสงฆ์จากอดีตมาจนถึงทุกวันนี้ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ปราชญ์” ของเมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) เป็นพระมหาเถระด้านคันถธุระที่มีความรู้ ความสามารถทั้งด้านการศึกษา การปกครอง การสาธารณูปการ และการเผยแผ่อย่างมากมาย ทำคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ให้แก่เมืองอุบลราชธานี อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน และถิ่นอื่นทั่วประเทศ ท่านเป็นประธานกรรมการจัดการโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา 36 ปี เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี กรรมการตรวจธรรมสนามหลวงผู้จัดตั้งโรงเรียนอุบลวิชาคม (โรงเรียนสมเด็จ) ได้ก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานไว้ตามวัดต่าง ๆ นับเป็นพระมหาเถระชาวอุบลราชธานี อีกองค์หนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” โดยแท้