พระธรรมฐิติญาณ (สิงห์ สุทฺธจิตฺโต) วัดศรีอุบลรัตนาราม

พระธรรมฐิติญาณ (สิงห์ สุทฺธจิตฺโต) วัดศรีอุบลรัตนาราม

พระธรรมฐิติญาณ (สิงห์ สุทฺธจิตฺโต) เป็นพระมหาเถระฝ่ายคันถธุระ ผู้เคร่งครัดตามพระธรรมวินัยในเรื่องปัจจัยสี่ เช่น การไม่รับปัจจัย (เงิน) และฉันมื้อเดียวเป็นนิจ ตลอดชีพเป็นต้น การเทศนาปาฐกถา หรือบรรยายธรรมอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปถือว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกชั้นยอด เพราะอธิบายเนื้อหาสาระประกอบหัวข้อธรรมะได้ลึกซึ้งชัดเจน แจ่มแจ้งและกระชับ ท่าให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายและน่าไปปฏิบัติได้ ไม่เกิดความเบื่อหน่าย ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบและเป็นพระนักพัฒนาทั้งวัตถุและจิตใจอย่างยอดเยี่ยม นับเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งแก่สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกที่จะน่าไปปฏิบัติต่อไป สมควรได้รับยกย่องเชิดชูเป็น “ปราชญ์” โดยแท้

พระเทพสุธี (พรหม โชติปาโล)

พระเทพสุธี (พรหม โชติปาโล)

พระเทพสุธี (พรหม โชติปาโล) ท่านเกิดที่ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระมหาเถระฝ่ายคันถธุระ ที่มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษา ทั้งของตัวเองและผู้อื่น โดยเริ่มจากที่เป็นผู้ไม่รู้อะไรเลย ทั้งการเขียน อ่าน จนสามารถพัฒนาตนเองให้สามารถเรียนพระปริยัติธรรมทั้งนักธรรมและบาลี จนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 7 ประโยค ขณะเดียวกันยังรักการสอนศิษย์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่เห็นแก่ความยากลำบากด้วยเมตตาธรรมอย่างสูง โดยมีปณิธานอันแน่วแน่ในการสร้าง “ปัญญา” ให้แก่คนถือว่าเป็นการสร้างมหากุศลอย่างยิ่ง จึงสมควรยกย่องเชิดชูให้เป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลราชธานีโดยแท้

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต)

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต)

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริโชโต) นับเป็นพระเถระฝ่ายคันธุระ ผู้ทรงไว้ซึ่งภูมิรู้ภูมิธรรมอย่างแท้จริง เป็นพระนักปกครอง นักการเรียน นักสาธารณูปการและสังคมสงเคราะห์ และนักเผยแผ่ที่มีความสามารถ มีประสิทธิภาพ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน และศาสนิกชนอื่นเป็นอันมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นพระเถระ ชาวอุบลราชธานีอีกรูปหนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น “ปราชญ์” ที่ชาวอุบลราชธานี มีความภาคภูมิใจและชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

พระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ สมกิตฺติ) วัดมหาวนาราม

พระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ สมกิตฺติ) วัดมหาวนาราม

พระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ สมกิตติ) เป็นพระมหาเถระด้านคันถธุระของคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักของฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมืองทุกระดับ เป็นพระนักพัฒนาผู้มองการณ์ไกลในทุก ๆ ด้าน ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษา จะเห็นว่าตลอดชีวิตเพศบรรพชิตท่านได้ทุ่มเททั้งพลังกายและพลังใจให้แก่การศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา ทั้งฝ่ายธรรมแก่ศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถมีสติปัญญาเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะสืบทอดศาสนทายาท (บวชเรียนตลอดไป) และผู้ที่จะก้าวไปสู่โลกแห่งการต่อสู้แข่งขันภายนอกให้เป็นผู้ถึงพร้อมแห่งความเป็น “ผู้รู้” และเป็น “ผู้มีสติ” ในการดำเนินการชีวิตให้มีความ “สุข สงบ “ ต่อไป จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์เมืองอุบลราชธานี” แห่งยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม) ได้รับสมญานามว่า ยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมภาคอีสาน เป็นผู้ดำเนินรอยตามบูรพาจารย์สององค์ คือ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตตลอดชีวิตบรรพชิตได้ทุ่มเทกับงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา และอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลายด้วยความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ถึงแม้จะมีอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ก็ได้ใช้ขันติ วิริยะ อุตสาหะ ต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นด้วยคติธรรมที่ว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” เป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวอุบลราชธานีที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่ง ที่สามารถสืบสานหลักการแห่งการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามรอยพุทธธรรมของบูรพาจารย์ใหญ่แห่งเมืองอุบลราชธานี ให้ขจรขจายเป็นแบบอย่างอันดีงามไปยังถิ่นอื่นได้อย่างดียิ่ง สมควรยกย่องเชิดชูให้เป็น “ปราชญ์” ของชาวอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน

พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน

พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) สานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธาส่วนใหญ่นิยมเรียกนามท่านว่า “หลวงปู่จูม” นับเป็นเถระผู้นำภารธุระทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ควบคู่กันอย่างเข้มข้นเต็มความสามารถโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาสงฆ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญาร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนการบ่าเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างใหญ่หลวง เป็นแบบอย่างของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และทรงไว้ซึ่ง ภูมิธรรม ภูมิปัญญา อย่างแท้จริง สมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป