พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หรือญาท่านดีโลด เป็นพระเถระที่ทรงไว้ซึ่งภูมิธรรม ภูมิปัญญาในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะ ด้านสมาธิจิต คาถาอาคม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ภาษา ค่านวณเลข โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ท่านมีความเชี่ยวชาญมาก จนมีชื่อเสียงขจรขจายทั่วไป ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนส่าคัญในการบูรณะพระธาตุพนมต่อจากสมัยพระครูโพนสะเม็ก จากความรู้ ความสามารถมากมายดังกล่าว สมควรยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ผู้รู้หรือนักปราชญ์” แห่งเมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (เล็ง เขโม) วัดศรีอุบลรัตนาราม

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (เล็ง เขโม) วัดศรีอุบลรัตนาราม

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (เล็ง เขโม) เป็นพระเถระฝ่ายคันถธุระ (ธรรมยุติ) อีกองค์หนึ่งที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและการศึกษาของประชาชนชาวอุบลราชธานี เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีวาทศิลป์ในการเทศน์อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ อุบาสก อุบาสิกาและประชาชน เป็นที่ศรัทธาชื่นชอบอย่างมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าก่อนอุปสมบทท่านมีอาชีพเป็นหมอลำมาก่อน จึงมีวาทศิลป์และความจ่าเป็นเลิศ สามารถแต่งกลอนเป็นคติธรรมสอนใจไว้มาก เช่น “ป้าสอนหลาน” “หลานสอนป้า” “คิหิปฏิบัติค่ากลอนภาคอีสาน”และ “ค่ากลอนสอนโลก” เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้พัฒนาเสนาสนะในวัดศรีอุบลรัตนารามให้มั่นคงถาวรเป็นที่เชิดหน้าชูตามาจนทุกวันนี้ นับว่าท่านเป็นผู้สืบสานมรดกความเป็น “ปราชญ์” ให้กับเมืองอุบลราชธานี ในยุคแรก ๆ องค์หนึ่ง จึงเห็นควรยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นปราชญ์เมืองอุบลราชธานี

พระครูนิโครธธรรมาภรณ์ (เอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม

พระครูนิโครธธรรมาภรณ์ (เอนก ยสทินฺโน) วัดป่าไทรงาม

พระครูนิโครธธรรมาภรณ์ (เอนก ยสทินฺโน) พระภิกษุผู้มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัยตามแบบอย่างของพระโพธิญาณแล้ว เป็นพระนักพัฒนา นักสังคมสงเคราะห์ นักอนุรักษ์ และนักศิลปะด้วย นอกจากนั้นท่านยังได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ให้ปกครองวัดสาขาของวัดหนองป่าพงในการดูแล บริหารจัดการ และพัฒนาวัดด้วยความมุ่งมั่นจริงจังจนเป็นแบบอย่างที่ดี สนับสนุนการปลูกป่า สงเคราะห์การศึกษา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดูแลรับใช้คณะสงฆ์ จัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อบำเพ็ญประโยชน์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป) วัดมณีวนาราม

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป) วัดมณีวนาราม

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป) เป็นพระเถระฝ่ายคันถธุระที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาวัดและคณะสงฆ์ทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาของกุลบุตรชาวอุบลราชธานี ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากในช่วงระยะการเปลี่ยนแปลงการศึกษาจากดั้งเดิม (มูลกัจจายน์) เป็นแบบใหม่ (บาลีไวยากรณ์) มีการสอบไล่จากปากเปล่าเป็นเขียนตอบ เป็นต้น ก็ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง แม้บางครั้งอาจย่อหย่อนลงไปบ้างก็ไม่ถึงกับยกเลิกไป ทำให้การศึกษาคณะสงฆ์และกุลบุตรผู้ใคร่ต่อการศึกษาของสำนักวัดมณีวนาราม และเมืองอุบลราชธานีจากอดีตจนตราบเท่าปัจจุบัน นับว่าเป็นพระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ชาวอุบลราชธานีและชาวเมืองอื่น ๆ ตลอดพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ปราชญ์” เมืองอุบลราชธานีโดยแท้

พระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) วัดสิงหาญ

พระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) วัดสิงหาญ

พระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ หลวงปู่โทน เป็นพระสุปฏิปันโน พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระเถระผู้ซึ่งเอาภารธุระของพระพุทธศาสนา ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระควบคู่กันไป ขณะเดียวกันท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมหลายด้านอีกด้วย อาทิ หมอยาพื้นบ้าน (แพทย์แผนไทยในปัจจุบัน) หมอคาถาอาคม (วิทยาคม) รักษาโรคด้วยพลังทางจิต เสกน้ำพุทธมนต์ เสกตะกรุด คาถามหานิยมให้คลอดลูกง่าย เลี้ยงง่าย ฯลฯ จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสของญาติโยมพุทธบริษัททั้งใกล้และไกล มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ จึงนับเป็นพระสงฆ์เถระชาวอุบลราชธานีอีกองค์หนึ่งที่สมควรได้รับยกย่องเป็น “ปราชญ์” อย่างแท้จริง

พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ) วัดมหาวนาราม

พระครูนวกรรมโกวิท (นาค ภูริปญฺโญ) วัดมหาวนาราม

พระครูนวกรรมโกวิท หรือหลวงปู่นาค ภูริปญฺโญ พระเถระผู้คงแก่เรียนและเคร่งครัดทั้งสายปริยัติและปฏิบัติ ความรู้ความสามารถพิเศษที่ได้รับการถ่ายทอดจากบูรพาจารย์ คือการอ่าน เขียนหนังสือผูก ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรไทยน้อย (ภาษาลาว) และอักษรธรรมได้อย่างแตกฉานเชี่ยวชาญ รวมทั้งการลงอักขระอาคมลงในตะกรุด แผ่นโลหะและผ้าประเจียด (ผ้ายันต์) ซึ่งลูกศิษย์ ต่างเล่าขานกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์และน่าอัศจรรย์ ทั้งในด้านอยู่ยงคงกระพัน และเมตามหานิยมภูมิปัญญาท้องถิ่นของหลวงปู่ที่สำคัญ ก็คือ การสวดบทไชยน้อย ไชยใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นคาถาสวดที่ทรงความขลังและศักดิ์สิทธิ์ คณะสงฆ์วัดมหาวนารามใช้สวดเพิ่มเติมต่อจากบทสวดมนต์ในเจ็ดตำนานและสิบสองตำนานในการท่าวัตรเป็นประจำ และในเวลาเจริญพุทธมนต์ในงานบุญกุศลต่าง ๆเพราะเจ้าภาพมีความเชื่อว่าก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ขับไล่ผี เสนียดจัญไร โรคภัยทุกข์เข็ญได้อย่างน่าอัศจรรย์ การสวดบทไชยน้อย – ไชยใหญ่ ยังคงได้รับการถ่ายทอดสืบสานจนถึงปัจจุบัน