ท่านพนฺธุโล (ดี) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ท่านพนฺธุโล (ดี) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ท่านพนฺธโล (ดี) เป็นพระสงฆ์เถระชาวอุบลราชธานีรุ่นแรก ๆ ที่มีโอกาสได้บวชเรียนทั้งที่จากบ้านเกิดจังหวัดอุบลราชธานี และในเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) และมีโอกาสอันสูงยิ่งที่ได้เข้าเฝ้าถวายตัวรับใช้ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ขณะทรงออกผนวชในพระนาม วชิรญาณเถระ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ ธรรมยุติกนิกาย ขึ้น ท่านพนฺธโล (ดี)ในฐานะปุราณสหธรรมิกในพระองค์ท่าน ก็ได้เอาภาระธุระเผยแผ่คณะธรรมยุตตั้งเป็นหลักฐานให้เจริญก้าวหน้าเป็นครั้งแรกที่จังหวัดอุบลราชธานีและภาคอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์องค์แรกที่ทำสังฆกรรมการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตร ผู้มีศรัทธาเป็นพระสงฆ์ธรรมยุติให้แพร่หลายทั่วภาคอีสาน และที่สำคัญที่สุด ท่านพนฺธโล (ดี) เป็นผู้นำในการนำวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของธรรมยุติกนิกาย โดยยึดแบบแผนธุดงคกัมมัฏฐานอยู่อรัญญิกาวาสหรือวัดป่าเป็นหลัก ไปปฏิบัติจนเป็นแบบแผนแนวปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระหรือสายวัดป่าของภาคอีสานและภาคอื่น ๆ สืบต่อมาในภายหลัง ดังตัวอย่างบูรพาจารย์เถระเป็นที่เคารพศรัทธาของพระพุทธบริษัททั้งหลาย อาทิ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระอาจารย์ชา สุภทฺโท เป็นต้น นับได้ว่าท่านพนฺธโล (ดี) ได้ทำคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน สาธุชน ประชาชนชาวอุบลราชธานี และโดยทั่วไป สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) วัดศรีทอง

ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) วัดศรีทอง

ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นพระเถรธรรมยุติ รุ่นบุกเบิกที่นาคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติมาเผยแผ่ ตั้งมั่นที่เมืองอุบลราชธานีและขยายวงศ์ธรรมยุติออกไปทั่วภาคอีสาน ในกาลต่อมาเป็นสัทธิวิหารริกของท่านพนฺธุ โล (ดี) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ไปศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ จนกลายเป็นสัทธิวิหาริก ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะทรงผนวชในพระนามวชิรญาณเถระ เป็นเรี่ยวแรงสาคัญของท่านพนธุโล (ดี) ในการสร้างวัดสุปัฏนาราม วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) และวัดอื่น ๆ ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดศรีทอง เป็นผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรอันงดงามน่าเลื่อมใสและพัฒนาการคณะสงฆ์ ตลอดจนถาวรวัตถุให้เจริญก้าวหน้ามีความมั่นคงถาวรมาจนถึงทุกวันนี้ จึงนับได้ว่าท่านเทวธมฺมี ได้ทาคุณประโยชน์ต่อ พระพุทธศาสนา ชาวอุบลราชธานีและอื่น ๆ เป็นอย่างมาก สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็น “ปราชญ์” อย่างแท้จริง