Recent Posts

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต)

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต)

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริโชโต) นับเป็นพระเถระฝ่ายคันธุระ ผู้ทรงไว้ซึ่งภูมิรู้ภูมิธรรมอย่างแท้จริง เป็นพระนักปกครอง นักการเรียน นักสาธารณูปการและสังคมสงเคราะห์ และนักเผยแผ่ที่มีความสามารถ มีประสิทธิภาพ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน และศาสนิกชนอื่นเป็นอันมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นพระเถระ ชาวอุบลราชธานีอีกรูปหนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น “ปราชญ์” ที่ชาวอุบลราชธานี มีความภาคภูมิใจและชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

พระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ สมกิตฺติ) วัดมหาวนาราม

พระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ สมกิตฺติ) วัดมหาวนาราม

พระเทพกิตติมุนี (สมเกียรติ สมกิตติ) เป็นพระมหาเถระด้านคันถธุระของคณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่รู้จักของฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมืองทุกระดับ เป็นพระนักพัฒนาผู้มองการณ์ไกลในทุก ๆ ด้าน ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษา จะเห็นว่าตลอดชีวิตเพศบรรพชิตท่านได้ทุ่มเททั้งพลังกายและพลังใจให้แก่การศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา ทั้งฝ่ายธรรมแก่ศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถมีสติปัญญาเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะสืบทอดศาสนทายาท (บวชเรียนตลอดไป) และผู้ที่จะก้าวไปสู่โลกแห่งการต่อสู้แข่งขันภายนอกให้เป็นผู้ถึงพร้อมแห่งความเป็น “ผู้รู้” และเป็น “ผู้มีสติ” ในการดำเนินการชีวิตให้มีความ “สุข สงบ “ ต่อไป จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์เมืองอุบลราชธานี” แห่งยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม) ได้รับสมญานามว่า ยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมภาคอีสาน เป็นผู้ดำเนินรอยตามบูรพาจารย์สององค์ คือ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตตลอดชีวิตบรรพชิตได้ทุ่มเทกับงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา และอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลายด้วยความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ถึงแม้จะมีอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ก็ได้ใช้ขันติ วิริยะ อุตสาหะ ต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นด้วยคติธรรมที่ว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” เป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวอุบลราชธานีที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่ง ที่สามารถสืบสานหลักการแห่งการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามรอยพุทธธรรมของบูรพาจารย์ใหญ่แห่งเมืองอุบลราชธานี ให้ขจรขจายเป็นแบบอย่างอันดีงามไปยังถิ่นอื่นได้อย่างดียิ่ง สมควรยกย่องเชิดชูให้เป็น “ปราชญ์” ของชาวอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

อ่านต่อ…

พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน

พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) วัดเวฬุวัน

พระครูโศภนธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก) สานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธาส่วนใหญ่นิยมเรียกนามท่านว่า “หลวงปู่จูม” นับเป็นเถระผู้นำภารธุระทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ควบคู่กันอย่างเข้มข้นเต็มความสามารถโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาสงฆ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญาร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนการบ่าเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างใหญ่หลวง เป็นแบบอย่างของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และทรงไว้ซึ่ง ภูมิธรรม ภูมิปัญญา อย่างแท้จริง สมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หรือญาท่านดีโลด เป็นพระเถระที่ทรงไว้ซึ่งภูมิธรรม ภูมิปัญญาในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะ ด้านสมาธิจิต คาถาอาคม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ภาษา ค่านวณเลข โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ท่านมีความเชี่ยวชาญมาก จนมีชื่อเสียงขจรขจายทั่วไป ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนส่าคัญในการบูรณะพระธาตุพนมต่อจากสมัยพระครูโพนสะเม็ก จากความรู้ ความสามารถมากมายดังกล่าว สมควรยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ผู้รู้หรือนักปราชญ์” แห่งเมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (เล็ง เขโม) วัดศรีอุบลรัตนาราม

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (เล็ง เขโม) วัดศรีอุบลรัตนาราม

พระครูวิจิตรธรรมภาณี (เล็ง เขโม) เป็นพระเถระฝ่ายคันถธุระ (ธรรมยุติ) อีกองค์หนึ่งที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและการศึกษาของประชาชนชาวอุบลราชธานี เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีวาทศิลป์ในการเทศน์อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ อุบาสก อุบาสิกาและประชาชน เป็นที่ศรัทธาชื่นชอบอย่างมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าก่อนอุปสมบทท่านมีอาชีพเป็นหมอลำมาก่อน จึงมีวาทศิลป์และความจ่าเป็นเลิศ สามารถแต่งกลอนเป็นคติธรรมสอนใจไว้มาก เช่น “ป้าสอนหลาน” “หลานสอนป้า” “คิหิปฏิบัติค่ากลอนภาคอีสาน”และ “ค่ากลอนสอนโลก” เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้พัฒนาเสนาสนะในวัดศรีอุบลรัตนารามให้มั่นคงถาวรเป็นที่เชิดหน้าชูตามาจนทุกวันนี้ นับว่าท่านเป็นผู้สืบสานมรดกความเป็น “ปราชญ์” ให้กับเมืองอุบลราชธานี ในยุคแรก ๆ องค์หนึ่ง จึงเห็นควรยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นปราชญ์เมืองอุบลราชธานี

อ่านต่อ…