ป้ายกำกับ: วัดทุ่งศรีเมือง

พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง วัดทุ่งศรีเมือง

พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง วัดทุ่งศรีเมือง

พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง พระประธานในวิหาร “ศรีเมือ 

พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) วัดทุ่งศรีเมือง

พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) วัดทุ่งศรีเมือง

พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) เป็นพระเถระองค์แรกที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการศึกษาที่เป็นการศึกษาสงฆ์แบบดั้งเดิม และการศึกษาสงฆ์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ จนสำเร็จการศึกษาเป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค ด้านการปกครอง ได้ศึกษาแบบอย่างการบริหารการคณะสงฆ์ในส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) จนมีความรู้ความเข้าใจ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระมหากษัตริย์ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ นับเป็นพระราชาคณะ (เจ้าคุณ) องค์แรกของเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น และรับตำแหน่งเจ้าคณะเมืององค์แรก เช่นเดียวกันด้านการเผยแผ่ แม้จะเป็นฝ่ายคันถธุระก็ได้มิได้ละทั้งฝ่ายวิปัสสนาธุระ คงส่งเสริมพระสงฆ์ผู้มุ่งมั่นในด้านนี้ดำเนินไปโดยไม่ขัดข้องและด้านสาธารณูปการได้สร้างผลงานไว้มากมายทั้งภายในวัดมณีวนาราม (ป่าน้อย) และวัดทุ่งศรีเมือง ที่สำคัญที่สุด คือ การส่งเสริมจุดประกายพัฒนาการศึกษาในเมืองอุบลราชธานีให้กระจายไปอย่างกว้างขวาง ทั้งในตัวเมืองและนอกเมือง โดยส่งเสริมควบคู่กันไปทั้งการศึกษาแบบดั้งเดิม (มูลกัจจายน์) และแบบใหม่ (บาลีไวยากรณ์) อันเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เมืองอุบลราชธานี เป็นศูนย์กลางการศึกษาทุก ๆ ด้าน จนมีผู้สนใจมาศึกษาเล่าเรียนจากทั่วสารทิศ ต่อมาจึงกลายเป็นศูนย์รวมของ “ผู้รู้” “ผู้มีปัญญา” และ “เมธี” มากมาย จนได้ชื่อว่า “เมืองแห่งนักปราชญ์” ในโอกาสต่อมา ดังนั้น พระอริยวงศาจารย์ฯ จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” ผู้บุกเบิกของอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท) วัดทุ่งศรีเมือง

พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท) วัดทุ่งศรีเมือง

พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท) ท่านเป็นพระเถระฝ่ายคันถธุระที่ทรงไว้ซึ่งภูมิธรรม ภูมิปัญญารอบด้านมีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนจำนวนมากมาย ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม ท่านมีความสามารถพิเศษในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นพระธรรมกถึกที่มีความสามารถเป็นเลิศในการแสดงพระธรรมเทศนา บรรยายธรรมปาฐกถาธรรม ฝึกอบรม มีความลุ่มลึกในเทศนาโวหาร มีความมุ่งมั่น อดทนอย่างสูงในการเผยแผ่อบรมสั่งสอนประชาชนในพื้นที่ทุกแห่งในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ท่านได้สร้างคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสมควรได้รับการยกย่องเป็นยอดแห่ง “ผู้รู้” หรือ “ปราชญ์” อย่างแท้จริง

อ่านต่อ…

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต)

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริยโชโต)

พระเทพกิตติโมลี (ทองสูรย์ สุริโชโต) นับเป็นพระเถระฝ่ายคันธุระ ผู้ทรงไว้ซึ่งภูมิรู้ภูมิธรรมอย่างแท้จริง เป็นพระนักปกครอง นักการเรียน นักสาธารณูปการและสังคมสงเคราะห์ และนักเผยแผ่ที่มีความสามารถ มีประสิทธิภาพ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน และศาสนิกชนอื่นเป็นอันมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นพระเถระ ชาวอุบลราชธานีอีกรูปหนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น “ปราชญ์” ที่ชาวอุบลราชธานี มีความภาคภูมิใจและชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) วัดทุ่งศรีเมือง

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หรือญาท่านดีโลด เป็นพระเถระที่ทรงไว้ซึ่งภูมิธรรม ภูมิปัญญาในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะ ด้านสมาธิจิต คาถาอาคม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ภาษา ค่านวณเลข โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ท่านมีความเชี่ยวชาญมาก จนมีชื่อเสียงขจรขจายทั่วไป ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนส่าคัญในการบูรณะพระธาตุพนมต่อจากสมัยพระครูโพนสะเม็ก จากความรู้ ความสามารถมากมายดังกล่าว สมควรยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ผู้รู้หรือนักปราชญ์” แห่งเมืองอุบลราชธานีอย่างแท้จริง