ความประเสริฐสุด 4 สถาน เมตตา คือ ความรักโดยไม่ปรารถนาจะครอบครอง เพราะรู้ดีว่า ในความจริงเหนือจริงในโลกนี้ นั้น ไม่มีการครอบครอง และไม่มีใครเป็นเจ้าของ นี่คือความรักอันประเสริฐ เมตตา คือรักโดยไม่ต้องนึกและพูดว่า “ฉันรัก” เพราะรู้ดีว่า ที่ว่า “ฉัน” นั้นเป็นเพียงภาพลวงตา เมตตา คือ รักโดยไม่เลือกเอามา และไม่คัดออกไป เพราะรู้ดีว่า การกระทำเช่นนั้น หมายถึงการทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเมตตา
มุมแห่งพุทธศาสนา 4 มุม
คำว่า ศิลปะแห่งพุทธศาสนา หมายถึง วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ สถูป และเจดีย์ เป็นที่บรรจุพระธาตุขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาของพวกเรา ที่ชาวพุทธบริษัทพากันนับถือว่า เป็นปูชนียสถานที่ควรแก่การเคารพบูชากราบไหว้ของพุทธบริษัททั่วไป
ประวัติหลวงพ่อพระศรีสรรเพชญ พระประธานในอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดสลัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
การบรรพชา อุปสมบท
ในกลุ่มคนไทยเราเมื่อเอ่ยถึงคำว่า บวช ย่อมเข้าใจความหมายดีว่าหมายถึงการทำอย่างไร พอได้ยินคำว่า บวช อุปาทานของเราจะเห็นคนจำพวกหนึ่งที่บำเพ็ญตนเป็นคนสันโดษ มีเพศและความเป็นอยู่แตกต่างกับสามัญชนโดยทั่วไป มีนิวาสสถานอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งต่างหาก โดยเฉพาะพวกของตน มีธุระหน้าที่ต่างจากประชาชนทั่วไป การกินอยู่หลับนอน การคบค้าสมาคม ตลอดถึงความประพฤติต่าง ๆ ย่อมผิดแผกแตกต่างไปหมด
ที่ระลึกงานทำบุญฉลองอายุครบ 5 รอบ พระครูปริยัตยานุสิฐ (แหว่น ผาสุโก ปธ.5 นธ.เอก) รองเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ เจ้าอาวาสวัดม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร กล่าวถึงเหตุที่จะมีเรื่องเวสสันดรชาดกขึ้นกับเล่าเรื่องพระ นางผุสดีในอดีตจนถึงทูลขอพร ๑๐ ประการ จากท้าวมัฆวารผู้ภัสดาพระนางผุสดีได้รับพรทิพย์ ๑๐ ประการ ในวันจะเกิดมาเป็นมารดาของพระเวสสันดร กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต
ตายเกิด ตายสูญ
ปัญหาเรื่องตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว ดูก่อนจะพุทธกาลอีก ในบัดนี้ก็มีอยู่ แลคงจะมีต่อไปอีกในอนาคต เรียกว่าเป็นปัญหาประจำโลกก็ได้ จึงมีคำสำหรับเรียกความเห็นเหล่านี้ว่าสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยง ซึ่งหมายความว่าชาตินี้เกิดเป็นอย่างไร ตายแล้วเกิดอีกต่อไปก็เป็นเช่นนี้อีก
อะไรถูกอะไรผิด
สิ่งที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับหลักพระพุทธศาสนา ก็คือว่า คำสอนของพุทธศาสนา ตลอดจนความเชื่อถือหลายอย่างนั้นยังคงใช้ได้ในเหตุการณ์ปัจจุบันหรือไม่ ถ้าทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันแล้ว ก็แสดงว่าคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาใช้เป็นหลักในการพัฒนาประเทศได้ และใช้สำหรับสร้างคนในสังคมให้เป็นคนดี ฉลาด สามารถทันต่อเหตุการณ์ เรามักใช้ศาสนาพุทธในทางที่ผิดบ่อย ๆ เมื่อใช้ในทางที่ผิดก็มักนึกต่อไปว่าพระพุทธศาสนานั้นแก้ปัญหาอะไรไม่ได้เป็นที่พึ่งแก่ตนหรือแก่คนอื่นไม่ได้ ส่งเหล่านี้อาจเกิดจากบุคคลที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา
สถาบันสงฆ์ในสังคมไทย
ในสังคมประชาธิปไตย ผู้นำที่ได้รับการเคารพ และยกย่องสรรเสริญจากประชาชนทุกคน เป็นผู้ที่มักน้อยสันโดษในความเป็นอยู่ และมีอิทธิบาทในการปฏิบัติงานและหน้าที่ของตนทั้งสิ้น พระสงฆ์ในความหมายของพระพุทธเจ้า ย่อมจะต้องเป็นผู้ที่สละความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย มีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
อารยธรรม
อารยธรรมในยุคแรกเริ่มที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ อารยธรรมของอินเดียและจีน ซึ่งได้มีมาเป็นเวลาประมาณ 2500 ปีมาแล้ว แต่จะไม่กล่าวถึงโดยละเอียดนัก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ คือ ประการที่หนึ่งเพราะเรายังมีความรู้ในเรื่องนี้น้อยมาก ฉะนั้นจึงจำเป็นอยู่เองที่จะกล่าวให้มากไม่ได้ ประการที่สองอารยธรรมทั้งสองนี้มีความสำคัญส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องของศาสนาเท่านั้น ชนชาวอินเดียและจีนจึงสมควรจะได้รับการกล่าวขวัญถึง มิใช่เพราะเป็นคนชาติที่ใช้ความคิดอิสระ หรือเพราะการสร้างสิ่งที่ดีที่งามแต่เพราะเป็นคนชาติที่มีทัศนะใหม่ในเรื่องที่เราเรียกว่าเรื่องของความดี และได้พยายามที่จะนำเอาทัศนะใหม่ในเรื่องนี้มาใช้ในทางปฏิบัติด้วย