ความก้าวหน้าของการสาธารณสุขในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ามหาราช รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย จนถึงตอนต้นรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีหลักฐานใด ๆ เกี่ยวกับการสาธารณสุขปรากฏอยู่ คนไทยยังไม่ค่อยรู้จักการสาธารณสุข เมื่อเจ็บป่วยก็รักษาพยาบาลกันโดยใช้ยาแผนโบราณหรือการบีบนวด ผู้ที่เป็นหมอแผนโบราณได้รับความรู้โดยการฝึกสอน ซึ่งอาศัยความจำเป็นผลักดันและถ่ายทอดกันมาในหมู่วงศาคณาญาติเท่านั้น ถึง พ.ศ. 2378 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิชชันนารีจากอเมริกาชื่อนายแพทย์แตน บีช บรัคเลย์ หรือที่รู้จักกันในนาม “หมอบรัคเลย์” ได้นำการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษเข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก มีการถ่ายโลหิต นับว่าเป็นครั้งแรกในภาคตะวันออกและเป็นผู้ริเริ่มการแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศไทย สำหรับด้านศัลยกรรมได้จัดทำตำราครรภ์รักษา ซึ่งถือว่าเป็นตำราสูติศาสตร์เล่มแรกของประเทศไทยและเป็นที่น่ายินดีอีกประการหนึ่ง คือประเทศไทยได้รู้จักใช้ยาระงับความรู้สึกเป็นแห่งแรกในประเทศแถบภาคตะวันออกนี้ อ่านต่อ…

กระทรวงสาธารณสุข. (2525). ความก้าวหน้าของการสาธารณสุขในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. ม.ป.ท. : สำนักข่าวพาณิชย์