ชุมชนปฐมอโศก : การศึกษาพุทธยูโทเปีย

โดยทั่วไปแล้ว เป็นที่ยอมรับกันว่ามนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคมหรือสัตว์การเมือง ซึ่งมักจะหมายถึงว่า มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่า แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีก เราจะพบว่ามนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีโอกาสที่จะ “เลือก” สังคมที่ตนต้องการใช้ชีวิตอยู่เลย ในทางตรงกันข้าม คนเรามักเป็นสมาชิกของสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือระบบทางสังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยกำเนิด มีปัจเจกชนน้อยรายนัก ที่จะมีโอกาสแม้แต่จะเลือกวิถีชีวิตของตนเองโดยลำพัง ให้แปลกแยกออกไปอย่างแท้จริง จากวิถีชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมเดิม โดยปกติแล้ว ลักษณะเด่นของ “สังคมที่เกิดขึ้นโดยเจตนา”นี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสังคมแรกเกิดของมนุษย์แล้ว ได้แก่การที่สมาชิกของสังคมดังกล่าว มีอะไรบางอย่าง ซึ่งยึดถือเป็นของร่วมกันได้ นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือความสัมพันธ์ทางกฎหมายอย่างธรรมดา ๆ เช่นการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่างหรือทุกอย่างร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว สังคมที่เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ของมนุษย์ก็ยังอาจจะเป็นสังคมที่ได้มีการกำหนดเป้าหมาย ตลอดจนวิธีการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว ไว้ล่วงหน้า หรืออาจเป็นสังคมที่มีลักษณะเหมือนกับการทดลอง คือ มิได้มีการกำหนดวิธีการไว้แน่นอนตายตัว หากเป็นสังคมที่อาจมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมาย และวิธีการไปได้เรื่อย ๆ อ่านต่อ…

สมบัติ จันทรวงศ์. (2531). ชุมชนปฐมอโศก : การศึกษาพุทธยูโทเปีย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมสันติ.