คำว่า อุโบสถ แปลว่า ดิถีพิเศษเป็นที่เข้าอาศัยอยู่ในที่นี้เป็นชื่อของศีลอันประกอบไปด้วย องค์ 8 คือ งดเว้นการฆ่าสัตว์, งดเว้นการลักทรัพย์ งดเว้นการเสพเมถุน งดเว้นการพูดปด งดเว้นการดื่มน้ำเมา งดเว้นการรับประทานอาหารในยามวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงคืนไป งดเว้นแสดงการเล่นต่าง ๆ และการไปดูและการทัดทรงประดับกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทา เครื่องผัดผิวต่าง ๆ และงดเว้นการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ศีลมีองค์ 8 นี้มีชื่อว่า อุโบสถ เพราะมีความหมายว่า บุคคลผู้รักษาต้องเข้าไปอาศัยศีลนั้นอยู่มีกำหนดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง (คือ 24 ชั่วโมง) ข้อว่า เข้าไปอาศัยศีลอยู่ คือสำรวมระวังรักษากายวาจา ให้ตั้งอยู่ในอาณัติของศีล ไม่ประพฤติล่วงละเมิดองค์ศีลนั้นๆ อุโบสถนั้น เป็นกาลยุตตพรหมจรรย์ ท่านบัญญัติไว้โดยมีขอบเขตจำกัด คือไม่ให้รักษาเป็นนิตย์ทุกวัน กล่าวตามที่ปฏิบัติกันอยู่โดยมากสมัยปัจจุบันนี้ ซึ่งเรียกว่าปักขอุโบสถ เดือนหนึ่ง 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ แต่เมื่อกล่าวตามที่ท่านกำหนดไว้ในคัมภีร์ต่างๆ วันรักษาปกติอุโบสถเดือนหนึ่ง 8 วัน คือ ขึ้น 5, 8, 14, 15 ค่ำ และแรม 5, 8, 14, 15 ค่ำ วันรักษาปฏิชาครอุโบสถเดือนหนึ่ง 11 วัน คือ ขึ้น 4, 6, 7, 9, 13 ค่ำ และแรม 1, 4, 6, 7, 9, 12 หรือ 13 ค่ำ เมื่อกล่าวตามที่ปรากฏในคัมภีร์ต่าง ๆ ท่านกำหนดวันรักษาอุโบสถไว้เดือนหนึ่งมีหลายวัน แต่ที่นิยมรักษาปักขอุโบสถกันเพียง 4 วัน ต่อเดือน คือเฉพาะวันพระ ขึ้น 8–15 ค้ำ และแรม 8–14 ค่ำนั้นจะเริ่มนิยมปฏิบัติแต่เมื่อไหร่ ใครเป็นผู้กำหนดยังไม่เคยพบที่มา อ่านต่อ…
หมายเหตุ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าคุณพระธรรมสารเถร เจ้าอาวาสวัดจันทรประสิทธิ์ เจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ณ เมรุพิเศษ วัดจันทรประสิทธิ์ 3,4,5,6 เมษายน 2513
หลวงพ่ออาสภเถร. (2513). อุโปสถิกปฏิบัติ. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.