การสอนให้ใช้จิตเพื่อให้เข้าถึงวิปัสสนากรรมฐาน โดยจะต้องกำหนดจิตให้รู้ถึงสิ่งสมมติ สิ่งปรุงแต่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ลดการยึดมั่น ถือมั่น ตัดกิเลสออกไปในระหว่างการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน อันจะทำให้จิตใจสงบสุขและสามารถกำหนดจิตให้รู้เท่าทันสติและอารมณ์ที่เกิดขึ้น
อนุสรณ์ฌาปณกิจศพ พระอธิการเรียน อรุโณ
หนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์เรียน อรุโณ เจ้าอาวาสวัดหนองโน ต.ชีทวน อ.เขื่องใน โดยได้กล่าวถึงประวัติ และรวบรวมบทสวดมนต์และคำกล่าวถวายสิ่งของต่าง ๆ
ผมมาทะเลาะกับท่าน
เรื่องราวของการสนทนาธรรมระหว่างหลวงพ่อกับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับคำสอนและวิธีการสอนของหลวงพ่อ โดยเห็นว่าเป็นลัทธรรมปฏิรูปคือเป็นการสอนธรรมที่บิดเบือนไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลวงพ่อได้อธิบายให้เห็นถึงหลักธรรม คำสอน แนวคิดต่าง ๆ ตามหลักพุทธศาสนาโดยใช้หลักเหตุและผล จนกระทั่งกลุ่มคนนี้ยอมแพ้ ยอมรับและศรัทธาในการสอนของหลวงพ่อมากยิ่งขึ้น
ทาง 7 สาย
หลักธรรมทางศาสนาในเรื่องทางแห่งบุญบาปทั้ง 7 สายคือทางไปนรก ได้แก่ โทสะ ทางไปเปรตและอสุรกาย ได้แก่ โลภะ ทางไปเดียรฉาน ได้แก่ โมหะ ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 หรือกุศลกรรมบท 10 ทางไปสวรรค์ ได้แก่ มหากุศล 8 ทางไปพรหมโลก ได้แก่ สมถกรรมถาน และทางไปนิพพาน ได้แก่ วิปัสสนากรรมฐาน
กราบพระ 5 ครั้ง
อัตชีวประวัติบางตอนของแม่ชีอิ่ม โรจนประดิษฐ์ ซึ่งได้เล่าถึงวีการรักษาศีลให้ถูกต้องและได้ผลจริง รวมทั้งกล่าวถึงกุศโลบายธรรมในการกราบพระ 5 ครั้ง คือครั้งที่ 1 กราบพระพุทธเจ้า ครั้งที่ 2 กราบพระธรรม ครั้งที่ 3 กราบพระสงฆ์ ครั้งที่ 4 กราบบิดามารดา และครั้งที่ 5 กราบครูบาอาจารย์
นำเอาพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เป็นสุขและประวัติของวัดเขื่องกลาง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
กล่าวถึงที่มีของชื่ออำเภอเขื่องใน รวมทั้งประวัติของวัดเขื่องกลางซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเขื่องใน โดยประวัติที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้จะเริ่มที่ประมาณ พ.ศ. 2474 หากแต่ผู้เขียนคาดว่าวัดเขื่องกลางน่าจะมีการก่อตั้งมานานมากแล้ว แต่ยังไม่มีการรวบรวมหลักฐานเพื่อนำมาเป็นประวัติการก่อตั้งวัดอย่างแท้จริงนอกจากนี้ในตอนท้ายยังมีการกล่าวถึงการนำเอาพุทธธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ด้วย
ธรรมประทีป
หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งในด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ โดยมีการอธิบายหลักธรรมต่าง ๆ ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น โดยใช้หลักเหตุและผลตามแนวความคิดของพระพุทธศาสนามาช่วยในการอธิบาย
คู่มือคำถวายทานแบบพิศดาร : สำหรับพระภิกษุสามเณร-พุทธศาสนิกชนทั่วไป
การทำบุญโดยทั่วไป ซึ่งจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ การทำบุญงานมงคลและงานอวมงคล ซึ่งจะมีวีธีการทำบุญที่ต่างกัน รวมทั้งมีการรวบรวมคำกล่าวถวายสิ่งของต่าง ๆ รวม 400 ชนิดไว้เพื่อใช้ในโอกาสที่จะต้องมีการถวายสิ่งของซึ่งเพิ่งมีขึ้นในยุคปัจจุบัน อาทิเช่น เครื่องพิมพ์ดีด หม้อหุงข้าว รถยนต์ เป็นต้น จึงได้เรียกว่าเป็นแบบพิสดารด้วยประการนี้
ประวัติบ้านข้าวปุ้นและวัดธัญญุตตมาราม
กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของบ้านข้าวปุ้น ซึ่งปัจจุบันได้พัมนาขึนเป็นตำบลข้าวปุ้น อำเภกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน รวมถึงประวัติของวัดธัญญุตตมาราม ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของบ้านข้าวปุ้น และประวัติของพระครูศุภกิจโกศล (ดี ศุภโร) เจ้าอาวาสนักพัฒนาผู้ริเริ่มพัฒนาให้วัดธัญญุตตมารามมีความเจริญรุ่งเรืองจนเป็นวัดตัวอย่างจนกระทั่งปัจจุบัน