ความขัดแย้งระหว่างพุทธศาสนากับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีความเป็นมาอย่างไร รู้สึกว่าไม่น่าเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นเลย เมื่อว่ากันตามหลักของศาสนาที่บริสุทธิ์จริงแล้วไม่ควรมีการขัดแย้งกัน เพราะศาสนาเป็นเรื่องของระบบพัฒนาชีวิต จิตใจของมนุษยชาติ เป็นการยกระดับชีวิตของคนให้สูงขึ้นตามเป้าหมายของศาสนานั้น ๆ
บทธรรม เรืองปัญญา เล่ม 3
ความเจริญของพระศาสนานั้น มันอยู่ที่การศึกษาการปฏิบัติของพุทธบริษัท ถ้าหากว่าพุทธบริษัทไม่ได้ศึกษาธรรมะให้เข้าใจ แล้วก็ไม่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเข้าใจนั้นก็เรียกว่าศาสนายังไม่เจริญ แม้ว่าเราจะมีวัตถุทางศาสนามากมาย เช่น มีโ
พลิกโลกเหนือความคิด
พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโก ซึ่งกล่าวถึงการมีหูทิพย์ ตาทิพย์เพื่อมองเห็นได้ยินการปรากฏของอวิชชา นั่นก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งทางที่เราจะมีหูทิพย์ ตาทิพย์ได้นั้น เราต้องฝึกสติ สมาธิ ปัญญา เพื่อให้รู้เท่าทันการเข้ามาของอวิชชาเหล่านั้น
พระบารมี 10 ทัศ
กล่าวถึงบารมีซึ่งได้แก่ ธรรม 10 ประการที่มีทานเป็นที่ตั้ง ที่ตัณหามานะทิฏฐิมิได้แปดเปื้อน ประกอบด้วย ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐานะ เมตตา และอุเบกขา
พระพุทธศาสนาที่แท้
พระธรรมเทศนาของพระภิกขุ ปัญญานันทมุนี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกและทราบความจริงที่เกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา เนื่องจากท่านได้เล็งเห็นว่าได้เกิดมีความเชื่อผิด ๆ เกิดขึ้นในพุทธศาสนา จึงเห็นควรได้ชำระความคิดผิด ๆ เหล่านั้น เพื่อให้ทุกคนเข้าใจความจริอันเป็นเหตุและผลของพุทธศาสนาสืบไป
พระเจ้าห้าพระองค์ ปลงกรรมฐาน พิจารณาชีวิต
ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธประวัติของพระเจ้าทั้ง 5 พระองค์ประกอบด้วย พระกุกกุสังโฆ พระพุทธโกนาคมบรมบพิธ พระพุทธกัสสป ศิริสากยมุนีโคดม และพระศรีอริยเมตตไตรย์
พระพุทธเจ้าโคดม นพเคราะห์ สามัคคี
ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโคดม ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา รวมทั้งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเรื่องของพระพุทธเจ้าไว้ด้วยในบทสุดท้ายของเล่ม
พัฒนาตน
พระธรรมเทศนาของพระราชวรมุนีในเรื่องของการพัฒนาตนคือการทำตนให้ดีขึ้น โดยใช้หลักธรรมคำสอนตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้คนสามารถพัฒนาจิตใจให้เจริญควบคู่ไปกับความเจริญทางวัตถุ
พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยล้านนาไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระมหากษัติรย์ไทยทุกพระองค์ล้วนเป็นพุทธมามกะ และทรงมีส่วนช่วยสนับสนุนให้พุทธศาสนารุ่งเรืองในประเทศไทยตลอดมา