เป็นพันธุ์ไหมที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมกลับจำนวน 6 ครั้ง ระหว่างพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ-1 ซึ่งเป็นตัวรับกับพันธุ์ บร.7 ที่สามารถแยกเพศได้ในระยะหนอนไหมเป็นตัวได้ ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นพันธุ์ไหมพื้นบ้านที่สามารถคัดแยกเพศได้ในระยะหนอนไหม โดยหนอนเพศเมียมีลำตัวลาย และหนอนไหมเพศผู้มีลำตัวเรียบ (ไม่มีลาย) ผลผลิตรังไหมสูง 15-20 กิโลกรัมต่อแผ่น อายุหนอนไหม 18–19 วัน ลักษณะรังไหมหัวป้าน-ท้ายแหลม ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2547
ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตต่อแผ่นไข่ไหม 15-20 กิโลกรัม
- พ่อแม่พันธุ์แยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกในการผลิตไข่ไหม
ข้อมูลลักษณะทางเศรษฐกิจ
ลักษณะทางเศรษฐกิจ | เฉลี่ยฤดูฝน | เฉลี่ยฤดูหนาว |
1.จำนวนไข่ไหมต่อแม่ (ฟอง) | 420 | 443 |
2.น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่ 10 ตัว (กรัม) | 21.97 | 22.70 |
3.อายุหนอนไหม (วัน : ชั่วโมง) | 20:19 | 24:17 |
4.ความสมบูรณ์ของดักแด้ (ร้อยละ) | 89.66 | 93.02 |
5.น้ำมันรังสด (กรัม) | 1.06 | 1.15 |
6.น้ำหนักเปลือกรัง (เซนติเมตร) | 13.16 | 14.51 |
7.เปลือกรัง (ร้อยละ) | 12.38 | 13.01 |
8.ความยาวเส้นใยต่อรัง (เมตร) | 374 | 382 |
9.ขนาดของรัง กว้าง*ยาว (เซนติเมตร) | 1.20*3.25 | 1.27*3.49 |
บรรณานุกรม
- กรมหม่อนไหม. (2556). ข้อมูลประจำพันธ์หม่อนไหม. กรุงเทพฯ : กรมหม่อนไหม.
- ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ (2554). พันธุ์ไทยพื้นบ้าน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://qsscmi.wordpress.com/2011/08/05/.