ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นไหมไทยพื้นบ้าน ชนิดฟักออกตลอดปี (Polyvoltine) ไข่ไหมรูปร่างกลมรี สีเหลือง หนอนไหมแรกฟักสีดำน้ำตาล เมื่อโตเต็มวัยสีขาวนวล ไม่มีลาย รังไหมรูปร่างยาวรี หัวป้านท้ายแหลม รังสีเหลือง รอยย่นบนผิวรังละเอียด
ลักษณะเด่น
- มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี
- เลี้ยงง่ายและผลผลิตสูง
- มีเปลือกรังชั้นนอกสีตุ่ยและมีเปลือกรังในสีเหลืองเข้ม
- เส้นไหมมีความเลื่อมมันวาว
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง
- สาวยากในฤดูฝน
ลักษณะทางเศรษฐกิจ | เฉลี่ยฤดูฝน | เฉลี่ยฤดูหนาว |
1.จำนวนไข่ไหมต่อแม่ (ฟอง) | 383 | 352 |
2.น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่ 10 ตัว (กรัม) | 20.83 | 18.98 |
3.อายุหนอนไหม (วัน : ชั่วโมง) | 20:6 | 24:21 |
4.ความสมบูรณ์ของดักแด้ (ร้อยละ) | 84.82 | 89.09 |
5.น้ำมันรังสด (กรัม) | 1.03 | 0.93 |
6.น้ำหนักเปลือกรัง (เซนติเมตร) | 12.48 | 10.44 |
7.เปลือกรัง (ร้อยละ) | 12.03 | 11.14 |
8.ความยาวเส้นใยต่อรัง (เมตร) | 372 | 309 |
9.ขนาดของรัง กว้าง*ยาว (เซนติเมตร) | 1.39*3.34 | 1.73*3.03 |
บรรณานุกรม
- กรมหม่อนไหม. (2556). ข้อมูลประจำพันธ์หม่อนไหม. กรุงเทพฯ : กรมหม่อนไหม.
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2552). หม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ย. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://prpuparn.com/images/Training/17.mulberry.pdf