วัดบ้านตำแย
ที่ตั้ง : บ้านตำแย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี |
ประเภท : วัด |
วัดบ้านตำแยใกล้กับวัดสระประสานสุข หรือวัดหลวงปู่บุญมี บ้านนาเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ชิดติดกับกองบิน 21 อุบลราชธานีเส้นทางรอบเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สิมวัดตำแยถือว่าเป็นศาสนสถานที่เกี่ยวข้องกับเมืองอุบลราชธานีและประวัติศาสตร์ศิลาจารึกโบราณ สิมวัดบ้านตำแย อายุประมาณ 200 ปี ตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองอุบลราชธานี มีขนาดกะทัดรัด เรียบง่าย ตัวอาคารของสิมวัดบ้านตำแย ลักษณะของสิมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนเอวขันธ์มีบันไดขึ้นตรงหน้า ประตูด้านเดียวหน้าต่างด้านข้างด้านละหนึ่งช่อง ด้านหลังก่อทึบถึงหน้าจั่ว ผนังก่ออิฐถือปูนด้วยประทาย หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว รายลำยองทำเป็นช่องฟ้า ในระกา และหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง หลังคามุงด้วยแป้นไม้ มีทวยรูปพญานาคอ่อนช้อยแบบอีสาน มีสองแบบคือ แบบอ้าปาก และแบบหุบปาก หน้า สิมเหนือประตูจารึกอกษรไทยน้อยสี่บรรทัด ด้านซ้ายมีบันทึกอีกสิบบรรทัด กล่าวถึงการสร้าง สิมวัดบ้านตำแย มีอยู่ด้านกับ 3 หลัก หลักที่ 1-2 กล่าวถึงการสร้างสิม เป็นจารึกบนฝาผนังด้านหน้าสิมเป็นอักษรไทยจารึกเมื่อ พ.ศ.2415 ส่วนหลักที่ 3 กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป จารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปทองเหลืองซึ่งเดิมเป็นพระประธานในสิมจารึกด้วยอักษรธรรมอีสานเมื่อปี พ.ศ.2400 วัดบ้านตำแย ถือเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดอุบลราชธานี ณ ปัจจุบัน สิมวัดบ้านตำแยแห่งนี้ กรมศิลปกรขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานแห่งชาติ เรียบร้อยแล้ว จารึกวัดสุปัฏนารามและจารึกปากน้ำมูล จารึกปากน้ำนั้น พบบริเวณใกล้ปากน้ำมูล ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม เป็นศิลาจารึกทำด้วยหินทรายสีน้ำตาล ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 สมัยเจนละ จำนวน 2 หลัก จารึกด้วยอักษร ปัลลวะภาษาสันสกฤต ทั้งสองหลักขนาดเท่ากันมีข้อความเหมือนกัน กล่าวถึงพระนามของพระเจ้าศรีเห นทรวรมันข้อความในศิลาจารึกถ้ำภูหมาไน ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม ซึ่งเป็นถ้ำขนาดเล็กริมฝั่งแม่น้ำมูล(บางคนเรียกถ้ำนี้ว่าถ้ำปราสาท) ส่วนจารึกระยะที่ 2 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จารึกด้วยอักษรขอมที่เรียกว่า ตัวธรรม เป็น ภาษาลาวเป็นจารึกเนื่องในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมากพบตามวัดต่างๆที่สร้างในระยะแรกที่ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี เช่น จารึกวัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) มีจำนวน 7 หลักโดยสรุปถึงการสร้างพระพุทธรูปของวัดมหาวนาราม ในสมัยแรก ๆ ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานีกล่าวถึงเทคนิคในการก่อสร้างที่เรียกว่าก่ออิฐซะทราย ประเพณีเข้าโอกาสหรือผู้ปฏิบัติพระและประวัติเมืองอุบลราชธานีบางส่วน จารึกวัดบ้านตำแยแห่งนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 หลัก หลักที่ 1-2 กล่าวถึงการสร้างสิม เป็นจารึกบนฝาผนังด้านหน้าสิม เป็นอักษรไทยน้อยจารึกเมื่อ พ.ศ.2415 ส่วนหลักที่ 3 กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป จารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปทองเหลืองซึ่งเดิมเป็นพระประธานในสิมจารึกด้วยอักษรธรรมอีสานเมื่อปี พ.ศ.2400 ศิลาจารึก หน้าที่ว่าการ อ.โขงเจียม เป็นศิลาจารึกรูปเสมาทำด้วยหินทราย สีน้ำตาลเข้ม จารึกเป็นอักษรไทยและไทยน้อย พ.ศ.2435 เป็นจารึกที่กล่าวถึงเจ้านาย บุคคลสำคัญที่ปกครองหัวเมืองลาวกาวในสมัยนั้น จารึกของจังหวัดอุบลราชธานียังมีอีกมากส่วนใหญ่จะอยู่ที่ วัดสุปัฏนาราม อ.เมืองอุบลราชธานี |
|
อ้างอิงจาก : http://www.southlaostour.com |