Warning: mysqli_query() expects parameter 1 to be mysqli, string given in D:\isanlocalwisdom\ubontravel\config.php on line 22

Warning: mysqli_query() expects parameter 1 to be mysqli, string given in D:\isanlocalwisdom\ubontravel\config.php on line 23
:: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี :: :: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::
:: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::

 วัดหลวง

 

ที่ตั้ง : ถนนพรหมเทพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ประเภท : วัด
 
        วัดหลวงเป็นวัดแห่งแรกของเมืองอุบลราชธานี วัดหลวงตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้งกับท่าจวน (ตลาดใหญ่) มีเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 4 ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อปีกุน พ.ศ.2324 โดยพระปทุมวรราชสุริยาวงศ์ (เจ้าคำผง) อพยพมาจากดอนมดแดงมายังบ้านเมืองใหม่ที่ ดงอู่ผึ้งและเห็นว่าที่แห่งนี้เหมาะที่จะสร้างบ้านเมืองใหม่และวัดวาอาราม เพื่อเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองเป็นที่อยู่อาศัยสืบทอดพระพุทธศาสนาจึงให้พระสงฆ์ที่อพยพมาด้วยลงมือก่อสร้าง ให้ช่างที่อพยพมาจากเวียงจันทร์พร้อมด้วยท่าน อุปฮาด ราชบุตร ราชวงศ์ ท่านท้าวเพี้ย กรรมการน้อยใหญ่ ร่วนกันก่อสร้างวัดจึงสำเร็จสวยงามสมเจตนารมย์มีการสร้างโบสถ์องค์พระประธาน กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลาง หอโปง หอระฆัง พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง เป็นสังฆาวาสที่สวยงามมาก เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งนามว่า วัดหลวง ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานีและถือได้ว่าเป็นวัดประจำเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรกนั้นคือ เจ้าคำผง นั้นเอง วัดหลวงแห่งนี้ได้ถือเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยแรก ๆโบสถ์หรือสิม มีความสวยงามแต่หน้าเสียดาย ที่โบสถ์หลังดังกล่าวได้รื้อไปแล้ว และได้สร้างโบสถ์หลังใหม่แบบ เมืองหลวงขึ้นแทน

จากหลักฐานภาพถ่ายเก่า ๆ ที่ยังพอหลงเหลืออยู่ พอจะได้เห็นถึงลักษณะรูปแบบของสิมวัดหลวงได้บ้าง ลักษณะของสิมวัดหลวงมีแปลนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าสิมวัดต่าง ๆ ใน เมืองอุบลราชธานีแต่รูปคลาย ๆ กันคือ ฐานเอวขันธ์แบบปากพาน มีบันไดขึ้นมาทำเป็นเฉลียง ตัวอาคารและฐานถือปูน เสาด้านหน้าสิม 4 ต้นเป็นเสาเหลี่ยมลบมุม หัวเสาทำเป็นรูปบัวจงกล ทวยไม้แกะสลักแบบหูช้าง หน้าบนกรุไม้ลูกฟักหน้าพรหมสาหร่ายรวงผึ้งแบบพื้นบ้านอีสาน(อิทธิพล ล้านช้าง) หลังคาชั้นเดียวทรงจั่วไม่มีชั้นลดมีปีกนก(พะไร) ทางด้านข้างใช้เป็นแป้นมุงไม้หน้าจั่ว ตกแต่งด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ไม่มีนาคสะดุ้ง(รายระกามอญ) ลักษณะของสิมวัดหลวงหลังนี้หากไม่ถูกรื้อไปคงจะมีโบราณสถานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเมืองอุบลราชธานี ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและภาคภูมิเป็นอย่างยิ่ง การตั้งชื่อว่า วัดหลวง นั้นตั้งชื่อตามนามของเจ้าคำผง ชาวเมืองจะเรียกเจ้าคำผงว่า เจ้าองค์หลวงหรืออาชญาหลวงเฒ่า วัดนี้อยู่ติดกับคุ้มของท่านคือ คุ้มเจ้าหลวง (เป็นพื้นที่ที่เรียกว่าตลาดราชพัสดุทุกวันนี้) พระคู่บ้านคู่เมืองภายในวัดหลวงที่สำคัญนั่นคือ พระแก้วไพฑูรย์ แห่งเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชนี้ เป็นพระแก้วเกิดจากหินธรรมชาติมีอายุหลายล้านปีมาแล้ว ใครจะเป็นผู้แกะหินเป็นพระพุทธรูปนั้นไม่ทราบ แต่เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในการปกครองของเจ้านายเมืองอุบลมานานแต่บรรพบุรุษของพระปทุมวราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)ได้ถวายเป็นสมบัติของวัดหลวงคู่กับพระแก้วบุษราคัม เมื่อเจ้านายทางกรุงเทพมหานครปกครองเมืองอุบลในสมัยราชกาลที่ 5 เจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีเกรงว่าเจ้านายทางกรุงเทพฯจะบังคับเอา พระแก้ว ทั้งสององค์ไปเป็นสมบัติของส่วนตัว จึงได้พากันเอาพระแก้วทั้งสององค์แยกออกจากกันไปซ่อนไว้โดนมิดชิด ไม่ยอมแพร่งพรายให้คนทั่วไปรู้ ต่อมาเมื่อสร้างวัดศรีอุบลรัตนาราม(วัดศรีทอง)โดยเจ้าอุปฮาดโท บิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์(เสือ ณ อุบล) จึงได้ไปเชิญเอาพระแก้วทั้งสองออกมาจากที่ซ่อน สำหรับพระแก้วบุษราคัมนั้น ได้ถวายแด่พระเดชพระคุณพระเทวธัมมี (ม้าว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) และเป็นลัทธิวิหาริกของ รัชกาลที่ 4 มาจากกรุงเทพฯ คงจะมีความเกรงใจไม่กล้าที่จะขอเอาพระแก้วบุษราคัม พระแก้วไพรฑูรย์ไปจากเมืองอุบลราชธานี ส่วนพระแก้วไพรฑูรย์นั้นทายาทของเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีเอาไปเก็บรักษาไว้เพราะเป็นสมบัติอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ ต่อมาภายหลังจึงได้นำมาถวายพระครูวิลาสกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดหลวงให้เป็นสมบัติของวัดหลวงและของเจ้านายเมืองอุบลราชธานีแต่โบราณโดยแท้ พระแก้วไพฑูรย์เป็นหนึ่งในแก้วอันเป็นรัตนชาติ คือ เพชรดี มณีแดง เชื่องใสแสงมรกต เหลืองใสบุษราคัมทอง แก่กำโมเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาล มุดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์ หากจะยกองค์พระขึ้นส่องจะเห็นเป็นคล้ายสายฝนหยาดลงมาจำฟ้าอันเป็นนิมิตหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกตามฤดูกาล ของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของเมืองอุบลราชธานีนี้มี พระแก้วบุษราคัม พระแก้วไพฑูรย์ จึงได้พากันเอาไปซ่อนเสียโดยนำออกจากวัดหลวงไปในสมัยนั้น ภายหลังทายาทจ้าเมืองอุบลราชธานีเห็นว่าวัดหลวงไม่มีพระสำคัญจึงได้นำมาถวายให้เป็นสมบัติของวัดหลวง และเป็นของคู่บ้านคู่เมืองสืบไป พระแก้วไพฑูรย์ จึงได้กลับมาประดิษฐานวัดหลวงตามเดิมดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.youtube.com/user/localubu#p/f/4/-4E_eRflPAs
อ้างอิงจาก : http://www.southlaostour.com

watluang.jpgwatluang(1).jpgwatluang(2).jpgwatluang(3).jpg
watluang(4).jpg
:: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::