Warning: mysqli_query() expects parameter 1 to be mysqli, string given in D:\isanlocalwisdom\ubontravel\config.php on line 22

Warning: mysqli_query() expects parameter 1 to be mysqli, string given in D:\isanlocalwisdom\ubontravel\config.php on line 23
:: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี :: :: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::
:: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::

 วัดกลาง

 

ที่ตั้ง : ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ประเภท : วัด
 
        วัดกลาง สร้างเมื่อ พ.ศ.2325 โดยเจ้าราชวงศ์ (ก่ำ) เป็นผู้สร้างใกล้กับคุ้มหรือ "โฮงราชวงศ์" ตามคตินิยมแต่โบราณที่เสาะหาทำเลใกล้แม่น้ำสร้างเมือง แล้วสร้างวัดควบคู่กัน ชื่อวัดเรียกตามทางน้ำไหล วัดที่เจ้าราชวงศ์สร้างอยู่ระหว่าง "วัดเหนือท่า" (บริเวณสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีปัจจุบัน) กับ "วัดใต้ท่า" (สนง.การไฟฟ้าฯปัจจุบัน) จึงได้ชื่อว่า วัดกลาง

พระบทม์ เป็นพระประธานในวิหารเก่าแก่ ตั้งแต่ครั้งสร้างวัดเป็นพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัยที่งดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 78 นิ้ว (1.98 ม.) สูง 108 นิ้ว (2.75 ม.) สร้างด้วยอิฐหินเหนียวผสมเกสรดอกไม้บัวจึงได้มีชื่อว่า "พระบทม์" มาจากคำว่า ปทุม-ปทม-บทม์ เหล็กเสริมภายในและใช้เกสรดอกบัวป่นละเอียดคลุกเคล้ากับยางบง น้ำแช่หนังวัวเผา น้ำแช่เปลือกเม็ก น้ำข้าวเจ้าต้ม หินเผาไฟป่นให้ละเอียด น้ำอ้อยเคี่ยวให้เหนียวผสมเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้วใช้ฉาบทาให้ผิวขององค์พระบทม์ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกขานกันว่า "ปูนน้ำอ้อย"

พระบทม์เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานีองค์หนึ่ง คำว่าพระบทม์มาจากคำว่า ( ปทุม-ปทม-บทม์) หมายถึง ดอกบัว ได้แก่บัวหลวง มีสีแดงกลิ่นหอมเป็นพระพุทธรูปที่ประสาทพรเกื้อกูลให้เกิดความสำเร็จ ตามแรงแห่งสัจจาธิษฐานปรารถนา คนรุ่นเก่าเมื่อจะกล่าวถึงของสำคัญและเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานีแล้วชอบกล่าวคำว่า "พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง" จนติดปากคำว่า "พระบฏ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานอธิบายความหมายว่า "ผืน" ที่มีรูปพระพุทธเจ้าแขวนไว้เพื่อบูชา ซึ่งตรงกับความหมายใน "สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน" ส่วนคำว่า "พระบท" ปรากฏในหนังสือ, บทความ,แผ่นพับและข้อเขียนต่าง ๆ โดยทั่วไปที่เขียนถึงพระบทที่ประดิษฐาน ณ วิหารวัดกลาง แต่ที่วัดกลางเขียนว่า "พระบทม์" เพราะมีความหมายเป็นการเฉพาะดังที่ได้กล่าวมา พระบทม์วัดกลางงดงามมากมีพุทธลักษณะอย่างเดียวกับ "พระเหลาเทพนิมิต" บ้านพนา เป็นฝีมือช่างรุ่นแรกของเมืองอุบลาชธานี

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.youtube.com/user/localubu#p/f/3/PNnfq9-3K2M
อ้างอิงจาก : http://www.southlaostour.com

watklang.jpgwatklang(1).jpgwatklang(2).jpgwatklang(3).jpg
watklang(4).jpg
:: ฐ า น ข้ อ มู ล แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว จั ง ห วั ด อุ บ ล ร า ช ธ า นี ::