การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรในการสืบทอดธุรกิจครอบครัวสำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี

หัวหน้าโครงการ : ศุภกัญญา จันทรุกขา

ธุรกิจครอบครัว-อุบลราชธานี-การสืบทอดธุรกิจ

ธุรกิจครอบครัว (Family businesses) มีบทบาทอย่างสูงในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การประกอบธุรกิจที่ใช้ลักษณะการบริการและจัดตั้งในรูปแบบครอบครัวนั้น เป็นวิธีการทำธุรกิจที่ได้รับความนิยมกันมายาวนาน เพราะมีจุดเริ่มต้นที่คุ้มค่า ด้วยเหตุผลนี้ ต้นทุนที่ต่ำกว่าและโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดก็น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการทำธุรกิจในรูปแบบที่ต้องเริ่มต้นดำเนินการทุกอย่างด้วยตนเองทั้งหมด จึงทำให้ธุรกิจครอบครัวเป็นทางเลือกในการประกอบธุรกิจโดยส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นถึงสมาชิกในครอบครัว เพื่อสืบทอดต่อกันไป แต่หากธุรกิจครอบครัวไม่มีการนำหลักการบริหารครอบครัวมาใช้ควบคู่กับการบริหารธุรกิจให้ดี ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกันได้ อย่างไรก็ตาม ในการประกอบธุรกิจครอบครัว ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรจะต้องพิจารณาประกอบกัน ดังนี้

ข้อดีของการทำธุรกิจครอบครัว

  1. การมีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ
  2. ทำงานด้วยความทุ่มเท การมอบหมายงานในเรื่องต่าง ๆ สามารถทำได้ง่ายและเข้าใจรวดเร็ว
  3. มีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายเพราะทุกคนต่างก็มีสามัญสำนึกถึงความมีส่วนร่วมในองค์กร
  4. มีวัฒนธรรมในองค์กรเฉพาะตัว
  5. ความลับบริษัทไม่รั่วไหลออกสู่ภายนอก
  6. เงินทองไม่รั่วไหล

ข้อเสียของการทำธุรกิจครอบครัว

  1. การประสานรอยร้าวทำได้ยากเมื่อมีความคิดเห็นขัดแย้งกันเกิดขึ้น
  2. อารมณ์ความรู้สึกมักจะแสดงออกมาอย่างเปิดเผยและเต็มที่เพื่อเป็นการบ่งบอกความไม่พอใจให้อีกฝ่ายรับรู้ ซึ่งสามารถทำลายบรรยากาศในการทำงาน
  3. การคัดเลือกญาติพี่น้องไม่มีความเหมาะสม ปราศจากความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
  4. ระบบเส้นสายเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีสำหรับมุมมองของบุคคลภายนอก
  5. การปลูกฝังรูปแบบการทำงานภายในองค์กรที่ใช้รูปแบบเดิม ไม่ทันกระแสธุรกิจสมัยใหม่

นอกจากนี้มีการสำรวจพบว่าธุรกิจครอบครัวที่มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นนั้น เมื่อไปถึงรุ่นหรือรุ่นหลานแล้ว พบว่า จำนวนที่เหลือรอดอยู่และประสบความสำเร็จจะลดลงมาก โดยพบว่าในธุรกิจครอบครัวรุ่นแรก 100% ผ่านมาในรุ่นที่ 2 จะมีธุรกิจอยู่รอดเพียง 30% ในรุ่นที่ 3 จะอยู่รอด 12% และในรุ่นที่ 4 จะเหลือเพียง 3% ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่าธุรกิจครอบครัวจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วคน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจในลักษณะของครอบครัวถึงแม้จะมีประโยชน์ที่เป็นข้อดีแต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน แนวทางที่ดีคือ ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาและนำเอาทั้งข้อดีและข้อเสียไปปรับใช้ให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันก็ต้องศึกษาเพื่อหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการทำธุรกิจแบบครอบครัว

business

ที่มา : จันทิมา สมรรคะบุตร (2553) ดัดแปลงจาก Longenecker J.G., Moore C.W., & Petty J.W. (2003)

จากกระบวนการข้างต้น ถือเป็นแบบอย่างของการสืบทอดธุรกิจของครอบครัวที่ดี ซึ่งการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้นั้นเจ้าของกิจการต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญในการที่จะสืบทอดธุรกิจ

ธุรกิจครอบครัว-อุบลราชธานี-การสืบทอดธุรกิจ

รายละเอียดเพิ่มเติม :  การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรในการสืบทอดธุรกิจครอบครัวสำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557

ภาพจาก : www.veryubon.com  www.sadoodta.com และ http://ubonmagicphoto.com/