การเพาะเมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้ป่า (ระยะที่ 4 : กล้วยไม้สกุลหวาย)
หัวหน้าโครงการ : อรัญญา พิมพ์มงคล
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์ ในประเทศไทยมีมากกว่า 150 ชนิด ทุกชนิดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย
กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบ symbidium คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลาต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลาต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอ ๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สาหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้น ๆ
กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สาหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น เอื้องผึ้ง (D. aggregatum) เหลืองจันทบูร (D. friedericksianum) เอื้องเงินหลวง (D. formosum) เอื้องเงินแดง (D. cariniferum) เอื้องแปรงสีฟัน (D. secundum) เอื้องสายหลวง หรือเอื้องสาย (D. anosmum) เอื้องครั่ง หรือเอื้องสายครั่งสั้น (D. parishii) เอื้องดอกมะเขือ (D. hercoglossum Rchb.f.) เอื้องสายวิสูตร (D. falconeri Hook.f.) เอื้องสายน้าเขียว (D. crepidatum Lindl.) และเอื้องสายสามสี (D. crystallinum ) เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติม : การเพาะเมล็ดเพื่อการขยายพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์กล้วยไม้ป่า (ระยะที่ 4 : กล้วยไม้สกุลหวาย) รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2558