การตรวจวินิจฉัยและเก็บรวบรวมแอคติโนมัยสีทที่แยกจากดินในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

หัวหน้าโครงการ : ปราณี พัฒนพิพิธไพศาล

จากการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งหมด 18 ตัวอย่างจากบริเวณต่าง ๆ คือ บริเวณแปลงเกษตร 6 ตัวอย่าง บริเวณป่าเกษตร 6 ตัวอย่าง และบริเวณหนองอีเจม 6 ตัวอย่าง จากนั้นนำตัวอย่างดินทั้งหมดมาทำการแยกเชื้อแบคทีเรียโดยใช่วิธี pour plate technique โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชนิด ในการแยกเชื้อแบคทีเรีย คือ Nutrient agar (NA) และ Soil Extract Agar พบว่าการใช้อาหาร NA แยกเชื้อแบคทีเรียจากดินได้เชื้อบริสุทธิ์ทั้งหมด 20 ไอโซเลต ส่วนการใช้อาหาร Soil Extract Agar แยกเชื้อแบคทีเรียจากดินได้เชื้อบริสุทธิ์ทั้งหมด 34 ไอโซเลต จากนั้นนำเชื้อที่แยกได้ทั้งหมดมาทำการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี พบว่าเชื้อที่แยกได้โดยใช้อาหาร NA เป็นเชื้อแบคทีเรียในสกุล Bacillus 9 ไอโซเลต Corynebacterium 1 ไอโซเลต Lactobacillus 5 ไอโซเลต Planococcus 1 ไอโซเลต Sporosacina  1 ไอโซเลต Staphylococus 1 ไอโซเลต และ Streptomyces 2 ไอโซเลต ส่วนเชื้อที่แยกโดยใช้อาหาร Soil Extract Agar เป็นเชื้อในสกุล Bacillus 17 ไอโซเลต Corynebacterium 12 ไอโซเลต Lactobacillus 1 ไอโซเลต และ Streptomyces 3 ไอโซเลต

ubu2

รายละเอียดเพิ่มเติม : การตรวจวินิจฉัยและเก็บรวบรวมแอคติโนมัยสีทที่แยกจากดินในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2548