การศึกษารวบรวมเมล็ดพรรณไม้พื้นถิ่นในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ระยะที่ 2 (ผักพื้นบ้าน)

หัวหน้าโครงการ : วสุ อมฤตสุทธิ์

จากการศึกษาได้รวบรวมข้อมูลพืชผักในการสำรวจไว้ทั้งสิ้น 79 ชนิด ประกอบไปด้วย พืชที่มีทั้งไม้ล้มลุกและยืนต้น พบว่า มีการนำส่วนต่าง ๆ ของพืชนำมาใช้ประกอบอาหารและใช้เป็นยารักษาโรค

การจำแนกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ได้ทำการบันทึกภาพพืชผักชนิดต่าง ๆ และศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของลำต้นและราก ลักษณะรูปร่างของใบ ลักษณะและสีสันของดอก ตลอดจนลักษณะผล ฝักและเมล็ด และได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี นำมาศึกษาลักษณะทางกายภาพทั้งภายนอกและภายในของเมล็ด ตรวจวัดความกว้างและความยาวของเมล็ด และบันทึกภาพ

ตัวอย่างพืชผัก

herb4

ผักไผ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour.

วงศ์ POLYGONACEAE

ชื่อพื้นเมืองอีสาน ผักแพว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดไปตามดินมีรากงอกออกตามส่วนที่สัมผัสดิน ใบ ใบรูปหอก ขอบใบเรียก ปลายแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ดอก เป็นดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กมีสีขาว หรือ สีชมพู เมล็ด เมล็ดขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ ปักชำ

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ยอดและใบกินกับลาบ ก้อย กุ้งเต้น และป่นกุ้ง

ทางยา ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร  ใบคั้น-ผสมกับแอลกอฮอล์ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน

รายละเอียดเพิ่มเติม : การศึกษารวบรวมเมล็ดพรรณไม้พื้นถิ่นในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ระยะที่ 2 (ผักพื้นบ้าน) รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2549