การศึกษาอัตลักษณ์ผ้าทอโบราณชนเผ่าจังหวัดมุกดาหาร

หัวหน้าโครงการ :ศุภลักษณ์ มาคูณตน

อัตลักษณ์ผ้าทอชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. การย้อม สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1.1 ผ้าย้อมสีธรรมชาติ

1.2 หมักโคลน

2. การทอ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

2.1 ผ้ามัดหมี่

2.2 ผ้าขิด

2.3 ผ้าเหยียบ

3. ชนิดของผ้า

3.1 ผ้านุ่ง

3.2 ผ้าห่ม

3.3 ผ้าสไบ/ผ้าพันคอ

3.4 เสื้อเย็บมือ

clone2

ผ้าหมักโคลน

ผ้าฝ้าย-ผ้าไหมเป็นภูมิปัญญาของชาวภูไท ที่สืบทอดกันมายาวนาน รวมไปถึงการย้อมสีผ้า โดยใช้สีที่มาจากพันธุ์พืชวัสดุต่าง ๆ ที่ให้สีตามธรรมชาติหลากหลายชนิด ซึ่งการหมักโคลนผ้า ก่อนจะทำการย้อมก็จะทำให้ผ้ามีคุณภาพคงทน สีไม่ตกและไม่ซีดจางง่าย ๆ พันธุ์ไม้ที่นำมาใช้ย้อมหาง่ายในท้องถิ่น และมีการปลูกทดแทน เพื่อที่จะได้มีวัตถุดิบใช้อย่างต่อเนื่อง และทางกลุ่มก็ยังได้มีการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตผ้าพื้นเมืองให้มีคุณภาพดี มีสีสม่ำเสมอคงทนต่อแสง และใช้งานได้ยาวนาน โดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยวิธี หมักโคลน ก่อนการย้อมสี

วิธีหมักโคลน

โคลนที่ใช้ในการหมักนั้นจะใช้โคลนที่หนองน้ำหนองสูงในหมู่บ้านที่มีอายุยาวนานประมาณ 300-400 ปี ซึ่งโคลนในท้องถิ่นอื่นก็น่าจะสามารถใช้ได้ แต่ควรใช้โคลนดินเหนียวและเนื้อโคลนต้องละเอียด ไม่มีเม็ดดินทรายปะปน

ขั้นตอนการทำผ้าหมักโคลนก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่จะมีหลายขั้นตอนเท่านั้น ต้องใช้ความอดทนในการทำ โดยเริ่มจากนำโคลนขึ้นมากรองด้วยตะแกรงเพื่อคัดกรองเอาพวกเม็ดกรวดเม็ดดินออกให้เหลือแต่เนื้อโคลนล้าน ๆ แล้วนำไปผสมน้ำและเกลือตามความเหมาะสม คนให้เข้ากัน นำเส้นใยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมลงไปแช่ในโคลนที่เตรียมไว้ โดยใช้เวลาในการหมักประมาณ 3-6 ชั่วโมง ซึ่งสีของเส้นใยจะอ่อนหรือเข้มขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการหมัก เมื่อหมักได้เวลาที่ต้องการก็นำขึ้นมาบิด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง พอเส้นใยแห้งก็นำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำกลับไปตากแดดให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงนำไปทำการย้อมสีตามที่ต้องการ

รายละเอียดเพิ่มเติม : การศึกษาอัตลักษณ์ผ้าทอโบราณชนเผ่าจังหวัดมุกดาหาร รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2554