การอนุรักษ์แมลงกินได้และการบริโภคอย่างปลอดภัย

หัวหน้าโครงการ: สุกัญญา คลังสินศิริกุล

การบริโภคแมลง เป็นภูมิปัญญาที่สืบต่อมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแมลงที่มีรสชาติดีไม่มีพิษ ก็จะได้รับความนิยมในการนำมาบริโภค แต่หากแมลงชนิดไหนที่รสชาติไม่ดี หรือมีพิษแล้วเกิดอันตราย ภูมิปัญญานั้นก็จะถูกถ่ายทอดมาสู่คนรุ่นหลังด้วย

อันตรายที่พบได้จากการบริโภคแมลง

1.อันตรายจากการบริโภคแมลงดิบ การบริโภคแมลงดิบโดยไม่ผ่านความร้อน อาจได้รับอันตรายจากสิ่งเจือปนเข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อโรค พยาธิ เป็นต้น แมลงน้ำ พยาธิใบไม้ลำไส้ตัวเล็ก ชนิด Phaneropsolus bonei  และ Prosthodendium molenkampi ด้วงและแมลงปีกแข็งที่อาศัยตามกองมูลควาย Gongylonema, Macracanthorhynchus hirudinaceus pallas และ Raillientin cesticillus

2.ตั๊กแตนผี ไม่ควรบริโภค เนื่องจากตั๊กแตนผีจะปล่อยสารพิษที่มีกลิ่นเหม็นปละเป็นฟองออกมาเมื่อตกใจ หากรับประทานจะทำให้เกิดการแพ้ คลื่นไส้ อาเจียน

3.ด้วงน้ำมัน จะมีสารพิษอยู่ในตัว ถ้ากินเข้าไปเพียงไม่กี่ตัวก็จะได้รับสารพิษมากกว่าค่าความปลอดภัย จะทำให้ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายอุจจาระอย่างรุนแรงและอาจถึงตายได้

insect5

4.มวนลำไย หรือแมงแคง จะสร้างสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูง หากโดนสารพิษนั้นจะทำให้เกิดแผลพุพอง แสบร้อน

insect2

5.การปนเปื้อนสารพิษฆ่าแมลงหรือสารเคมีที่เกษตรกรใช้ในการกำจัดศัตรูพืชนั้น โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้คงมีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะอาหารแมลงเป็นสินค้าที่ทำรายได้ดี พ่อค้าที่รับซื้อแมลงสดจะพิจารณาเลือกซื้อแมลงที่ยังมีชีวิตหรือสด เพื่อลดการสูญเสียจากการเน่าเสียของแมลงที่ตาย ระหว่างการขนส่งเข้าสู่ตลาดในเมืองใหญ่ พ่อค้าบางรายถึงกับทำการทอดแมลง ณ จุดรับซื้อทันที เพื่อลดการสูญเสียดังกล่าวหลังจากรับซื้อไว้แล้ว

6. ผู้มีประวัติแพ้กุ้ง หรืออาหารทะเลบางชนิด เช่น ปู กุ้ง ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้ไคติน ดังนั้นเมื่อรับประทานแมลงอาจเกิดอาการแพ้เหมือนกับการแพ้กุ้ง อาหารทะเล

7. กินแมลงทอดสุ่มเสี่ยงรับสารฮาตามีน คนที่เป็นโรคหืดหอบ อาจแพ้รุนแรงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวรุนแรง พูดไม่ได้

8. ดักแด้หนอนไหมทอด มีปริมาณฮีสตามีนสูงที่สุด โดยสารฮีสตามีนที่เกิดขึ้น ณ อุณหภูมิระหว่าง 5-60 องศาเซลเซียส แบคทีเรียจะเปลี่ยนกรดอะมิโนฮีสตาดีน (Histadine) เป็นฮีสตามีน และพบมากในหนอนตัวต่อ มีมากถึง 5221 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และดักแด้หนอนไหม 5197 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งความร้อนไม่สามารถทำลายสารฮีสตามีนได้

insect4

10. การใช้น้ำมันทอดซ้ำ

11. อันตรายจากผงชูรส

12. การเก็บของผู้ประกอบการที่ไม่เหมาะสม เช่น มีการใช้สารพวกฟอร์มาลีน

รายละเอียดเพิ่มเติม : การอนุรักษ์แมลงกินได้และการบริโภคอย่างปลอดภัย รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2554