การศึกษาศิลปะงานปูนปั้นบันไดในศาสนสถานอีสานใต้
หัวหน้าโครงการ : เสกสันต์ ศรีสันต์
โครงการนี้ได้ดำเนินการลงพื้นที่บันทึกข้อมูลศิลปะงานปูนปั้นในศาสนาคาร 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จำนวน 88 วัด
งานปูนปั้น เป็นงานศิลปะพื้นบ้านอีกแขนงหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันมีหลักฐานปรากฏให้เห็นตามศาสนาสถานทั่วไป ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงนี้ เป็นการสร้างสรรค์ตามอิทธิพลที่ได้รับในแต่ละยุคสมัย มีคุณค่าความงามตามความเชื่อและความนิยมเฉพาะถิ่น เป็นการบันทึกเรื่องราวความเชื่อผ่านสิ่งก่อสร้าง
งานปูนปั้นเป็นงานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผ่านการตกผลึกทางความคิดทั้งทางด้านรูปทรง วัสดุ และกรรมวิธีการผลิต และความหมาย เช่น หากแบ่งงานปูนปั้นตามความแตกต่างของวัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสม อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทแรก เนื้อปูนที่ใช้ในการปั้นใช้น้ำกาว เช่น กาวหนังสัตว์ น้ำอ้อย เป็นส่วนผสม เรียกว่า ปูนน้ำกาว โดยใช้ส่วนผสมของปูนน้ำกาวมักจะประกอบด้วย ปูนขาว ทรายแม่น้ำ กาวหนังสัตว์ น้ำอ้อย และกระดาษฟาง เป็นต้น
ประเภทที่สอง เนื้อปูนที่มีส่วนผสมด้วยน้ำมัน เช่น น้ำมันทั่งอิ้ว น้ำมันยาง ฯลฯ เป็นต้น เรียกว่า ปูนน้ำมัน ซึ่งส่วนผสมมักจะประกอบด้วย ปูนขาว ชัน น้ำมันทั่งอิ้ว และกระดาษฟาง เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติม : การศึกษาศิลปะงานปูนปั้นบันไดในศาสนสถานอีสานใต้ รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556